แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Economy Model)
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน, แนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Economy Model) ที่มีอิทธิพลต่อการการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Economy Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนทั้งชายและหญิงที่มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ตนจำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการสถานที่พักต่าง ๆ ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร และผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายของที่ระลึก จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.96) การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.82) ปัจจัยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Economy Model) ได้แก่ การเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วม เศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า และสังคมที่มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรสามารถร่วมกันอธิบายผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ภาพรวม ได้ร้อยละ 92.30 (Adjust R2 = 0.923) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Economy Model) พบว่า ชุมชนต้องนำองค์ประกอบจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านองค์กรชุมชน ด้านการจัดการ และด้านการเรียนรู้ มาบูรณาการในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
References
กาญจนาพร ไตรภพ และพิเศษ ชัยดิเรก. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 110-127.
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอ จังหวัด สงขลา. (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2562).
ธันย์นิชา เกียรติทับทิว เลิศนรเศรษฐ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 54 – 69.
ประไพ กรายแก้ว. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านสวนกล้วยตำบลบ้านส้อง อำเภอ เวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (9): 211-226.
ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และ สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนว ทางการ พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหาร
การพัฒนา, 10(3), 22-33. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/
/165447
สุถี เสริฐศรี, ภูเกริก บัวสอน. (2560). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์,10(2), 109-117.
Fennell. (1999). Ecotourism: An Introduction. Routledge Publication, London.
Richards and Wilson. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture? Tourism Management, 27(6), 1209-1223. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2005.06.002
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.