การจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • สนธยา คงสนิท มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สืบพงศ์ สุขสม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การจัดการ, ภาครัฐแนวใหม่, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่มีมาตรฐานในการวัดที่ชัดเจน มีการปรับขนาดโครงสร้างให้เล็ก กระชับ คล่องตัว มีการวางแผนการทำงาน เพื่อความคุ้มค่า ทำงานเชิงรุก เน้นประโยชน์สาธารณะ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ สนับสนุนพัฒนาทุนมนุษย์ รับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อหาแนวทางแก้ไข 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ การสร้างการบริหารที่มีคุณภาพแก่ประชาชน แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาระบบงานที่จะปรับปรุงเพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายหรือมาตรการในการบริหารงบประมาณ ประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด วางแผนรองรับความเสี่ยง จริยธรรม ความคล่องตัวการปฏิบัติงาน การวางแผนอย่างมีระบบ บูรณาการการมีส่วนร่วม 3) แนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้องส่งเสริมและสร้างความโปร่งใส ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันภายใต้การบริหารบ้านเมืองที่ดี เปรียบเทียบกับผลการดำเนินการที่ผ่านมา ลดความซ้ำซ้อนของงาน คล่องตัวในการส่งมอบบริการสาธารณะ มีการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ของบริการที่มาจากการเรียนรู้ร่วมกัน

References

ขวัญรักษ์ เกษรบัว. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่เชิงนโยบายของรัฐไทย. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(2), 640-656.

ธิษณารินทร์ เหลืองจิรโชติกาล. (2565). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1), 148-157.

ณัฏฐ์พิมล ฉัตรนิติกูล, และสมเดช มุงเมือง. (2020). การบริหารภาครัฐแนวใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1833-1844.

พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2563). ความหลากหลายของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่กับแนวโน้มการจัดการ ภาครัฐในอนาคต. จันทรเกษมสาร, 26(1), 31-44.

พระมหาไพฑูรย์ วรรณบุตร. (2558). การประยุกต์ใช้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 5(2), 264-273.

เมืองแมน (วัฒนชัย) ศิริญาณ. (2564). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Graduate School, Pitchayatat, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 16(1), 145-156.

โยธิน ทองเนื้อแข็ง, จารึก ศิรินุพงศ์, & อำพร มณีเนียม. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐแนวใหม่. JOURNAL MAHA CHULA TANI MAHACHULALONGKORN RAJAVIDYALAYA UNIVERSITY, 2(4), 35-40.

Criado, J. I., Dias, T. F., Sano, H., Rojas-Martín, F., Silvan, A., & Filho, A. I. (2021). Public innovation and living labs in action: a comparative analysis in post-new public management contexts. International Journal of Public Administration, 44(6), 451-464.

Hammerschmid, G., Van de Walle, S., Andrews, R., & Mostafa, A. M. S. (2019). New public management reforms in Europe and their effects: Findings from a 20-country top executive survey. International Review of Administrative Sciences, 85(3), 399-418.

Jonas, D. (2000). Information giving can be painless. Journal of Child Health Care, 4, 184-196.

Singh, G., & Slack, N. J. (2022). New public management and customer perceptions of service quality–a mixed-methods study. International Journal of Public Administration, 45(3), 242-256.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2024

How to Cite

คงสนิท ส. ., & สุขสม ส. . (2024). การจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(5), 343–353. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269502

ฉบับ

บท

บทความวิจัย