แนวทางการจัดการแรงงานต่างชาติของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มานัด แซ่โหงว มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สืบพงศ์ สุขสม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

นโยบายแรงงาน;, การจัดการแรงงาน;, แรงงานต่างชาติ;, ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษานโยบายแรงงานต่างชาติที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน ผู้บริหารบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง จำนวน 12 คน และแรงงานต่างชาติ จำนวน 10 คน และผู้ร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 6 คน ทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยนั้นผู้ว่าจ้างต้องดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล มีการกำหนดแนวทางการจ้างงานที่ชัดเจน ผู้ว่าจ้างต้องจัดหานักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติเข้ามาช่วยบริหารแรงงานต่างชาติ มีเจ้าหน้าที่ประสานงานการจัดการด้านเอกสาร การได้รับสิทธิในเรื่องคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างชาติ โดยมีอาหารให้แรงงานต่างชาติ มีนโยบายการบริหารแรงงานต่างชาติที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชน และกฎหมายแรงงานต่างชาติที่จ้างแรงงานต่างชาติที่ถูกกฎหมาย ควรให้ความคุ้มครองทางสังคมที่ตั้งอยู่บนบรรทัดฐานตามกฎหมายด้วย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ข้อมูลธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1622.

กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมือง. (2561). รายงานสถิติการอนุญาตปลูกสร้างอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 1 มินาคม 2565, จาก http://cmc.bangkok.go.th/bmaitev/web/uploads/84.pdf.

ธนพัฒน พันธ์สุข. (2559). ปัญหาแรงงานต่างชาติกับการละเมิดสิทธิ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(2). 114-125.

ธเนศ มหัทธนาลัย. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry /industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF.

สืบพงศ์ สุขสม. (2563). นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอรทกรุงเทพ. 9(2), 166-175.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). เจาะลึกปัญหาแรงงานก่อสร้างขาดแคลน. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก https://www.buildernews.in.th/news-cate/24373

สำนักงานโยธา กรุงเทพมหานคร. (2565). ประกาศผลการจดทะเบียนเป็นผู้รับเหมาของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก http://office.bangkok.go.th/dpw/index.php/

สิริโฉม พรหมโฉม. (2558). การทำงานของคนต่างชาติหรือแรงงานข้ามชาติ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/ Image/b/k120%20jun_12_1.pdf

Bashyal, K. (2020). Labour market outcomes and skill endowment of Nepali migrant workers in India: Case of Uttar Pradesh and Delhi. Journal of International Affairs, 3(1), 103-118.

Bernaz, N. (2021). Conceptualizing corporate accountability in international law: Models for a business and human rights treaty. Human rights review, 22(1), 45-64.

Booth, A., Freeman, R., Meng, X., & Zhang, J. (2022). Trade unions and the welfare of rural-urban migrant workers in China. ILR Review, 75(4), 974-1000.

Brennan, F., Lohman, D., & Gwyther, L. (2019). Access to pain management as a human right. American Journal of Public Health, 109(1), 61-65.

Broniatowski, D. A., Jamison, A. M., Johnson, N. F., Velasquez, N., Leahy, R., Restrepo, N. J., ... & Quinn, S. C. (2020). Facebook pages, the “Disneyland” measles outbreak, and promotion of vaccine refusal as a civil right, 2009–2019. American journal of public health, 110(S3), S312-S318.

Bueno, N., & Bright, C. (2020). Implementing human rights due diligence through corporate civil liability. International & Comparative Law Quarterly, 69(4), 789-818.

Chen, B., Liu, T., & Wang, Y. (2020). Volatile fragility: New employment forms and disrupted employment protection in the new economy. International journal of environmental research and public health, 17(5), 1-14.

Danujaya, I. D. P. G. A., & Wahyuningish, S. E. (2019). Legal Policy On The Existence Of Criminal Law Of Illegal Foreign Labor In Indonesia. Jurnal Daulat Hukum, 2(2), 165-172.

Djatmiko, A., & Pudyastiwi, E. (2019). The Role Of Indonesian Labor Placement And Protection Board (BNP2TKI) On Indonesian Labor (TKI). Ganesha Law Review, 1(2), 1-17.

Hendren, N., & Sprung-Keyser, B. (2020). A unified welfare analysis of government policies. The Quarterly Journal of Economics, 135(3), 1209-1318.

Howe, J., Reilly, A., Clibborn, S., van den Broek, D., & Wright, C. F. (2020). Slicing and dicing work in the Australian horticulture industry: labour market segmentation within the temporary migrant workforce. Federal Law Review, 48(2), 247-271.

Kim, J. M., Son, K., Yum, S. G., & Ahn, S. (2020). Analyzing the risk of safety accidents: The relative risks of migrant workers in construction industry. Sustainability, 12(13), 5430.

Martin, W., Jonathan, I. I., Peters, A. K., Brownback, P. A., Newsome, G., & Chang, A. (2020). Labor and Employment Law. Mercer L. Rev., 72, 149.

Però, D. (2020). Indie unions, organizing and labour renewal: learning from precarious migrant workers. Work, Employment and Society, 34(5), 900-918.

Van Beers, B. C. (2020). Rewriting the human genome, rewriting human rights law? Human rights, human dignity, and human germline modification in the CRISPR era. Journal of Law and the Biosciences, 7(1), 1-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย