นโยบายภาครัฐกับการพัฒนาคุณภาพคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลกองทัพบก
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ,, คลินิกทันตกรรม,, นโยบายภาครัฐ,, โรงพยาบาลกองทัพบกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาคลินิกทันตกรรมในการรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยนโยบายภาครัฐกับการพัฒนาคุณภาพคลินิกทันตกรรม และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการกำหนดนโยบาย และแนวทางการพัฒนาคลินิกทันตกรรม เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการระดมสมอง โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก ทันตแพทยสภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพ โรงพยาบาลอานันทมหิดล โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ และ โรงพยาบาลค่ายอดิศร โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร จำนวน 5 ท่าน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ โรงพยาบาลละ 1 ท่าน รวมเป็น 5 ท่าน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ผู้มีความเชี่ยวชาญในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 35 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ สร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหางบประมาณค่าบริการ การขาดแคลนทันตบุคลากร การบริหารจัดการองค์ประกอบ 5 ประการ คือ ต้นทุน คุณภาพ ปริมาณ เวลา และวิธีการในการผลิต 2) การวิเคราะห์พบว่า นโยบายไม่สอดคล้องกับงบประมาณ Service plan ค่าจ้าง ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าสาธารณูปโภค ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์ และการจ้างเหมาเอกชน 3) แนวทางและข้อเสนอแนะโดยกระบวนการจัดทำนโยบาย และวิธีปฏิบัติที่ดี ได้แก่ 1) ด้านการบันทึกและจัดทำเอกสาร 2) ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 3) ด้านความปลอดภัย และ 4) ด้านประเด็นทางจริยธรรมกฎหมายและสังคม
References
Chookiatman, K. (2020). Dentistry and COVID-19. Journal of the Department of Medical Services, 45(4), 5-8.
Chamachot C., (2018). A Study of Factors Related to Dental Caries in Alcohol Addicts Receiving Inpatient Treatment at Boromarajonani National Drug Addiction Treatment and Rehabilitation Institute. Journal of the Department of Medical Services, 43(1), 63-68.
Phra Srirattanamuni. (2019). The Efficiency of New Public Policy Administration in the Thai State Government. Saeng Esan Journal, 16(2), 634-650.
Suksom, S., (2020). Policy for the Development of Chiang Rai Special Economic Zone. Academic Journal of North Bangkok University, 9(2), 1-10.
Daniela Garbin Neumann, Carlos Quiñonez. (2014). A comparative analysis of oral health care systems in the United States, United Kingdom, France, Canada, and Brazil. Network for Canadian Oral Health Research, 2014 (2), pp.1–18
Council, D., (2022). Thai Dental Safety Goals & Guidelines. Retrieved January 11, 2022, from https://dentalcouncil.or.th/upload/files/Ul8eRFhGrVL0tasQ6w9S45vmcq
iAOkJj.pdf
Marwaha, J., and Shah, K., (2020). COVID-19 outbreak challenging dentist’s safety. World Journal of Advanced Research and Reviews, 6(3), pp.216–221
Joda, T., et al. . (2020). Recent Trends and Future Direction of Dental Research in the Digital Era. International Journal of Environmental Research and Public Health, 2020(17), pp.2- 8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.