แนวทางความร่วมมือในการกำจัดวัชพืชของแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์แหล่งน้ำ

ผู้แต่ง

  • ศุภพานี โพธิ์สุ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ตรีเนตร ตันตระกูล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

แนวทางความร่วมมือ;, การกำจัดวัชพืช, โครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์แหล่งน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางความร่วมมือในการกำจัดวัชพืชของแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์แหล่งน้ำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 23 คน โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้มีบทบาทที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาวัชพืชของแหล่งน้ำในพื้นที่ และการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาวัชพืชของแหล่งน้ำ จำนวน 13 คน

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของวัชพืชในแหล่งน้ำ ยังขาดงบประมาณในการดำเนินการกำจัดวัชพืชของแหล่งน้ำที่ต่อเนื่อง ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการกำจัดวัชพืชด้วยสารอินทรีย์ ภายใต้โครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์แหล่งน้ำ ควรมีการบูรณาการความร่วมมือ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนแต่ละพื้นที่ เป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่มีแหล่งน้ำและประสบกับปัญหาวัชพืชในแหล่งน้ำ จัดทำโครงการกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ โดยให้หน่วยงานที่มีความรู้เข้ามาช่วยเหลือ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้ทำลงไป ตลอดจนมีการจัดทำแผนเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลควรมีการจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นเพื่อให้การกำจัดวัชพืชของแหล่งน้ำเกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจากการขายผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวที่ใช้เป็นส่วนผสมในการทำสารอินทรีย์ฉีดพ่นวัชพืชในแหล่งน้ำ และส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัชพืชนำมาแปรรูปผลิตขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่

References

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2557). การบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตรีเนตร ตันตระกูล. (13 กันยายน 2562). การพัฒนาผู้นำในชนบท. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/668216

รพีพัฒน์ มั่นพรม, ยุวดี ทองอ่อน และนัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น. (2561). แนวทางการพัฒนาเครื่องทอลายและ

การย้อมสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผักตบชวา. โครงการวิจัยคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Hossain, M. E., et al. (2015). Nutritive of Water Hyacinth (Eichhornia Crassipes). Journal of Animal and Feed Research, 5 (2), 40-44.

Ostrom, E. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. Cambridge: Cambridge University Press.

Vidya, S. and Girish, L. (2014). Water Hyacinth as a Green Manure for Organic Farming. International Journal of Research in Applied, Natural and Social Sciences, 2 (6), 65-72.

Yomi, N. (1991). Environmental Education for Sustainable Development: Synthesis of World Environment Day. Glasgow, Scotland: Jordanhill College.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย