แนวทางการพัฒนาการรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชวิวัฒน์ งามสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จุลดิศ คัญทัพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, แนวทางการพัฒนา, การรู้เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพเป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้ศึกษาแนวคิดของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 135 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงการรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการรู้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านความเข้าใจสูงที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาการรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 คน คือ ด้านความเข้าใจ 7 แนวทาง ด้านการเข้าถึง 8 แนวทาง ด้านการสื่อสาร 12 แนวทาง ด้านการทำงานร่วมกัน 10 แนวทาง ด้านความปลอดภัย 10 แนวทาง และด้านแนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล 8 แนวทาง รวมทั้งหมด 55 แนวทาง
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ได้ทราบข้อมูลถึงระดับความรู้ ความเข้าใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับทักษะการเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสารสนเทศ และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

References

Chinpitakwattana, K. (2015). Needs Assessment of Caregiver’s Educating Infants and Toddlers Child Care Center. An Online Journal of Education, 10(1), 30 – 43.

HR Note Thailand. (2019). How is it important to human resource development. Retrieved April 8, 2023, from https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190625-education-for-hrd

Kemkaman, N. (2021). Guidelines to develop Digital Literacy for Teachers under Secondary Educational Service Area Office 7. (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Pathum Thani.

Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2018). The Basic Education Core. Bangkok: Office of the Basic Education Commission Ministry of Education.

Office of the Civil Service Commission. (2021). Digital Literacy Project. Retrieved April 17, 2023, from https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

Office of the National Digital Economy and Society Commission. (2020). Twenty-year digital economy and society development plan (2017 – 2036). Bangkok: Office of the National Digital Economy and Society Commission.

Phuwijit, C. (2017). Model of Teachers and Educational Personnel Development in Next Normal Age. Retrieved March 8, 2023, from http://www.nidtep.go.th

Sirichotirat, N. (2016). Human Resource Management in the 21st Century. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Wongwanch, S. (2014). Classroom Action Research. (17th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing Ho.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2024

How to Cite

งามสวัสดิ์ ช., & คัญทัพ จ. . (2024). แนวทางการพัฒนาการรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(5), 332–342. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269178

ฉบับ

บท

บทความวิจัย