การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดน้ำในคลองแม่ข่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมหวัง โชติการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ,, การบำบัดน้ำ,, คลองแม่ข่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมของน้ำในคลองแม่ข่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสภาพแวดล้อมคลองแม่ข่า และผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและภาพลักษณ์ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) นำเสนอการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการบำบัดน้ำในคลองแม่ข่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ 1) ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน 2) ผู้ปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน และ 3) ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 20 คน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก

 ผลการวิจัย 1) สภาพแวดล้อมของน้ำในคลองแม่ข่า ภาครัฐได้ขับเคลื่อนแผนแม่บทแบบมีส่วนร่วมด้วยคณะทำงานในแต่ละด้าน ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ “น้ำไหล น้ำใส ภูมิทัศน์ และมีจิตสำนึก” ในระยะที่ 1 บริเวณริมคลองแม่ข่าได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ได้ส่งมอบงานเป็นที่เรียบร้อย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสภาพแวดล้อมคลองแม่ข่า ได้แก่ การขยายตัวของเมืองในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว มีการ บุกรุกบริเวณริมคลองแม่ข่า ทำให้เกิดชุมชนแออัด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมคลองแม่ข่าเสื่อมโทรม มีน้ำเน่าเหม็นอย่างรุนแรง ภาครัฐเร่งดำเนินโครงการในระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป และ 3) การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการบำบัดน้ำในคลองแม่ข่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการนำนวัตกรรมโอโซนและนวัตกรรมโซล่าเซลล์มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทแบบมีส่วนร่วม เป้าหมายคือ “น้ำใส” Smart Technology เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

References

Bangmo, Somkid. (1995). Principles of management. Bangkok: Wittayapat Publishing House.

Chutnitikun, Nutphimon and Mungmuang, Somdet. (2019). New Public Administrative Approach of the Ministry of Agriculture and Cooperatives on Supervising Credit Union Cooperatives. Journal of MCU Peace Studies. 8(5), 1833-1844.

Department of Environmental Quality Promotion. (2002). Remote data sensing. Bangkok:

Ministry of Natural Resources and Environment.

Environment Committee technology and life Integrated Academic Center General Education Kasetsart University. (2010). Environment, technology and life. Bangkok: Kasetsart University.

Garrett Hardin. (1968). The Tragedy of the Commons, Science. 162(3859), 1243-1248.

Huangkit, Sanchai and Woraphatthirakul, Paphatsorn. (2021). Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 6(1), 363-378.

Janwittaya, Teerayut. (2002). Solar cell system connection system with residential Transmission lines. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

Koufman, H.F. (1949). Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities.

Agricultural Experiment Station Bulletins.

Kumnunsin, Sukkee. (2007). Participation of the people in conservation of the park environment national under the shade Ban Na San District Surat Thani Province.

Phuket: Phuket Rajabhat University.

Oakley, P. (1984). Approaches To Participation In Rural Development Geneva: International Office.

Mallikamarl, Sunee. (1999). Environmental Law Enforcement. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Satepan, Yupadee. (2001). Life and the environment. Bangkok: Phisit printing.

Srichan, Thanikarn and Kosolkittiamporn Saowaluck. (2023). 20 years of national strategy for the development of Thailand. Journal of Modern Learning Development. 8(1), 413-435.

Suebsiribut, Wattanachai and Suksom, Suebpong. (2021). Dovelopment of Electronic Identification Cards and Reducing Redundancies in Modern Thai Government Relations. Dhammathas Academic Journal. 21(4). 143-154.

Thepkraiwan, Pisit. (2011). Development of Collaborative Network Model for Educational Management Quality in Small Primary Schools. Khon Kaen University.

Weerawattananon, Winai. (1989). Environmental Education Process. Bangkok: Odeon Store.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย