การทำงานเป็นทีมของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1

ผู้แต่ง

  • ปวริศา ชูศรี -
  • รวีวรรณ กลิ่นหอม วิทยาลัยนวัตกรรมการทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ วิทยาลัยนวัตกรรมการทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, ศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษา, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม1

บทคัดย่อ

 บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 และ2) เพื่อเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 จำแนก ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงานเป็นการวิจัยเชิงสำรวจศึกษาแนวคิดของ วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, สุเมธ งามกนก, ยงยุทธ เกษสาคร, ทองทิพภา วิริยะพันธุ์, ธีระเดช ริ้วมงคล, Parker, Herrenkohl, Biech ; เป็นกรอบในงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 300 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิชนิดมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอ้างอิง คือการเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่1พบว่าระดับการทำงานเป็นทีมของครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับ ( = 4.29, S.D.=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการติดต่อสื่อสาร ( = 4.38, S.D.= 0.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประเมิน ปรับปรุง พัฒนา ( = 4.20 S.D.=0.59) 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่2พบว่า2.1 ครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม1 ที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีการทำงานเป็นทีมในภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญสถิติ ที่ระดับ.05 และ2.2 ครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกันมีการทำงานเป็นทีมในภาพรวม และ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ.05
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษาได้ข้อมูลเพื่อนำไปกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาอย่างยั่งยืนและเป็นข้อมูลให้ครูศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้การทำงานเป็นทีมต่อไป

References

Prompiputtanaporn, K., (2019). The Guidelines for Developing Teamwork of Teachers in School under the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 1. Thesis for the Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education Nakhonratchasima Rajabhat University.

Keawchaoon, K.,. (2017). Team Working for Increasing Work Effectiveness. Dusit Thani College Journal, 11(1), 355-370.

Viriyaphan, T., (2010). Team Work Management and PROBLEM-SOLVING (4th ed.). Bangkok : SAHADHAMMIKA CO., LTD

Peungjiem,P., (2014). Teamwork Behavior of Education Personnel in basic education Kanchanabuit Primary Educational Service Area Office 3. Thesis for the Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education Kanchanabuit Rajabhat University

Ketsakorn, Y., (2009). Leadership and quality management of teamwork (2nd ed.). Bangkok: vjprinting.

Rewmongkol, T., (2013). TeamWork (2nd ed.). Bangkok : Ramkhamhaeng University.

Mapijan,P., (2016). The Teamwork of Suwansathukit School Group under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. Thesis for the Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education Silpakorn University

Tragoolsarid, V.,(2007). Team Work. Bangkok : ACADEMIC PROMOTION CENTER.

Phonongkoon, Y., (2022). Developing Guidelines for Building a Team of Teachers for Educational Institutions in under the Office of Chaiyaphum Primary Educational

Service Area 3. Thesis for the Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education Mahasarakham University.

Kasetauim,V., (2015). Team Building. Bangkok : odeonstore

Saenpolmuang, B., (2018). Teacher’s Teamwork of Dipangkornwittayapat (Taweewattama) under ROYAL Patronge School. Thesis for the Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education Silpakorn University.

Phaoard, L., (2016). Team working of Teachers in Mueang Trat Expansion Opportunity Schools under Trat Primary Education Service Area Office. Thesis for the Master of

Education Program in Educational Administration Faculty of Education Burapha University.

Ngamkanok, S.,(2007). Team Building. Journal of Education Burapha University, 19 (1), 31-41.

Office of the Civil Service Commission. (2022). The origin of the Government Employee System. Retrieved April 11, 2023, from https://www.ocsc.go.th/ges/intro

_______ . (2017). Effective Team Building. Bangkok : Office of the Civil Service Commission.

Special Education Bureau (2022). Announcements of Office of the Basic Education

Commission about Establish a group of schools Special Education Bureau B.E. 2565 -2566.

Retrieved January 30, 2023, from http://special.obec.go.th/HV3/page.php

_______ . (2022). Role and responsibilities Special Education Center Special Education Bureau.

Retrieved January 30, 2023, from http://special.obec.go.th/HV3/page.php

Biech, Elaine. (2008). A model for building teamwork. In Biech, ed. The Pfeiffer book of

Successful team-building tools, Best of the annuals, 2nd ed. California : JohnWiley& Sons.

Herrenkohl, R.C. (2004). Becoming a Team, Achieving a Goal. South – Western : Thomson.

Parker, G. M. (1990). Team players and team work: The new competitive business strategy.San .Francisco, Calif: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2024

How to Cite

ชูศรี ป. ., กลิ่นหอม ร. ., & อมรกิจภิญโญ ธ. (2024). การทำงานเป็นทีมของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 . วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(5), 307–319. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/268343

ฉบับ

บท

บทความวิจัย