กระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลสู่สังคมปลอดคอร์รัปชันในจังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน และตำบลพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, กระบวนการขับเคลื่อน, เครือข่ายการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง รวมถึงปัจจัยที่เป็นแรงผลักและแรงต้าน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบปฏิบัติการเครือข่ายการมีส่วนร่วม ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3) เพื่อพัฒนา และทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบปฏิบัติการเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคม องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้ศึกษาแนวคิดการมีส่วนร่วมและแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายเป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำชุมชน นักเรียน ประชาชน จำนวน 154 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายการมีส่วนร่วม ของทั้งสองพื้นที่มีการรวมกลุ่มในรูปของเครือข่ายอาชีพที่มีศักยภาพมีความพร้อมโดยมีทุนทางสังคมที่เป็น แรงผลักให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม ส่วนแรงต้าน คือ ความตระหนักที่จะร่วมมือพัฒนาชุมชนร่วมกัน 2) พัฒนารูปแบบผ่านการวิเคราะห์บริบทพื้นที่ วางแผนเชิงปฏิบัติการ ปฏิบัติตามแผน ติดตาม ตลอดจนสรุปผลและถอดบทเรียนเกิดรูปแบบปฏิบัติการเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3) รูปแบบปฏิบัติการเครือข่ายการมีส่วนร่วมนั้น ภาคประชาสังคม ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคสถานศึกษาได้ให้การยอมรับว่ารูปแบบปฏิบัติการเครือข่ายการมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริง
References
Bingham, et al., (2005). The New Governance: Practices and Processes for Stakeholder andCitizen Participation in the Work of Government. Retrieved January 4, 2017, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1540-6210.2005.00482.
Ekakul, T. (2008). Operational Research. Ubon Ratchathani : Yongsawat Inter Group Co., Ltd.
George C. Homans. (1967). The Explanation of English Regional Differences. Oxford University Press.
Jongsathityu, J. (2003). Processes and working techniques of developers. Bangkok: Learning Promotion Project for Happy Community.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (Eds.). (1988). The Action Research Planner. (3rded.). Geelong, Victoria:Deakin University Press.
Khamying, A. (2021). Guidelines for waste management of Camp Son Community, Khao Kho District, Phetchabun Province. By emphasizing the participation of the community. This thesis, Master of Public Administration Department of Public Administration. Local management and development. Graduate School: Pibulsongkram Rajabhat University.
Phuangngam, k. (2004). Applied Participatory Action Research. Bangkok: Sema Tham.
Songkhroesuk, N. (1998). From concept to practice. Chiang Mai : High Development Project Office. Thai-German.
Uitrakul, P., Bunjongparu, P., Thainguluam., J., Sri-amnuay, A., Ploykornbur, W. (2017). Civil Society Project and Strengthening Local Good Governance to Develop Defense Systems and Mechanisms. Corruption Corruption : A Case Study of Nakhon Ratchasima Province. Research report. Bangkok : Office of the National Research Fund.
Walaisathien. (2003). Developer's Workplace. Bangkok: Learning Project for Happy Community.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.