รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • นาตยา หกพันนา -
  • สฤษดิ์ ศรีขาว มหาวิทยาลัยนครพนม
  • นิราศ จันทรจิตร มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้; , ความสามารถในการสื่อสาร, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดความสามารถการคิดเชิงบริหาร และการสืบเสาะหาความรู้ และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ระยะแรก ประกอบด้วย การร่างรูปแบบและทดลองใช้ร่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กับกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแดง จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยศึกษาผลการทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับนักเรียน ในภาคเรียนที่ 1/2565 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 24 แผน แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร 15 ข้อ และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่า ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดความสามารถการคิดเชิงบริหาร และการสืบเสาะหาความรู้ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์รูปแบบ 3) สาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล และมีผลการประเมินคุณภาพและความหมาะสมของรูปแบบ ของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20
  2. ผลการทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า นักเรียนที่รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบ มีความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อเทียบกับคะแนนเต็มด้านละ 75 คะแนน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 67.26 และ 64.20 ตามลำดับ

References

Donoghue, M. R. (2009). Language arts: Integrating skills for classroom teaching. Fullerton: SAGE Publications.

Goleman, D. (1998). Working with emotional Intelligence. (p.259).New York: Bantam Book.

Hein, Steve. (1999). Emotional Intelligence. (Online), Available: http//egi.org.

Joyce, B., and Weil, M. (2000). Model of teaching. 5th ed. Boston: Aliyn& Bacon.

KunlayaTantiphalachewa (2008). Organization of learning activities for early childhood children. Bangkok: Friends Aksorn.

NatchudaWichitjamarie (2015). Organizational communication. 3rd edition. Bangkok : PublisherKasetsart University.

Office of Academic and Educational Standards. (2017). Curriculum for Early Childhood Education, 2017. (P.6-7). Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Piaget, J. (1969). Science of Education and the Psychology of the Child. New York : Viking.

PornpilaiLertwicha, and AkkaphoomChuphakorn. (2007). Early learning brain.Bangkok: Print review printing.

RawiwanRungpraiwan (2013). Promotion of language skills for children. In the textbook of child development and behavior, Volume 3, Healthy Child Care. Bangkok: Beyond Enterprise.

Rebecca,N.(1998, Summer). The Comfort Corner: Fostering Ressiliency and Emotional Intelligence. Childhood Education. 7(4):200-204.

SirimaPhinyoanantapong (2013). Measurement and Evaluation: Early Childhood. (p. 38). Bangkok: Srinakharinwirot University.

SomphochIamsupasit (2010). Behavior modification theory and techniques. 7th printing. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

ThepkanyaPhromkatkaew (2020). Exploratory learning for early childhood children. Bangkok : Nanmeebooks.

YUROVSKY, Daniel; CASE, Sarah; FRANK, Michael C. Preschoolers flexibly adapt to linguistic input in a noisy channel. Psychological science, 2017, 28.1: 132-140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย