กลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย

ผู้แต่ง

  • รัตติกาล โสวะภาส มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชัยวุฒิ จันมา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์กร, ความเป็นเลิศ, กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย และ 2) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ และกระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร โดยอาศัยแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และบริบทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย เป็นกรอบการวิจัย มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และนักวิชาการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย รวม 18 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ทำการสรุป การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ให้ได้มาซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ดังนี้

ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการนำองค์กร พบว่า ผู้นำระดับสูงขององค์กรมีการปฏิบัติงานตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยรวมแล้วทำให้องค์กรมีการพัฒนาก่อให้เกิดมีความยั่งยืน มีระบบการกำกับดูแลองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล 2) ด้านกลยุทธ์ พบว่า องค์กรในปัจจุบันมีการวางแผนกลยุทธ์ มีแบบแผนมีขั้นตอน มีกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ มีกรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวอย่างชัดเจน 3) ด้านลูกค้า พบว่า องค์กรในปัจจุบันนี้ยังมีการรับฟังข้อแนะนำจากลูกค้า มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดี มีการนำสารสนเทศมาใช้เพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า 4) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ พบว่า องค์กรมีวิธีการเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูล สารสนเทศ และสินทรัพย์ เพื่อนำความรู้ขององค์กรมาประกอบการทบทวน ปรับปรุงผลการดำเนินการภายในองค์กร มีการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามบริบทของ องค์กร 5) ด้านบุคลากร พบว่า องค์กรมีวิธีการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถเป็นรายบุคคล 6) ด้านการปฏิบัติการ พบว่า การดำเนินธุรกิจแตกต่างตามประผลิตภัณฑ์และกระบวนการการทำงาน และ 7) ด้านผลลัพธ์ พบว่า องค์กรมีผลการดำเนินการและการปรับปรุงในด้านที่สำคัญทุกด้านขององค์กร

References

Kongkun Tochaiwat (2013). Determination of selling prices from cost analysis of housing in real estate projects. Academic Conference and Presentations. On the occasion of the 50th anniversary of Khon Kaen University and the 25th anniversary of the Faculty of Architecture, 2013. Pages 1-8. Khon Kaen: Khon Kaen University

Pichai Nilthongkam. (2000). Civil and Commercial Code, Book 1-6 and Criminal Code. Bangkok: P.L.T.

National Productivity Institute. (2022). National Quality Award Criteria 2022-2023 (TQA Criteria for Performance Excellence Framework). Bangkok: Eastern Public Company Limited.

Sukulphat Koompaisan (2019). Introduction to real estate development. Chapters in real estate development, compiled by Kongkun Tochaiyawat, 1st publication, Thammasat University Press, 2019.

Sukulphat Koompaisarn (2008). Methods for a feasibility study of real estate projects for architects. Journal of Architecture, Issue 2:51, pages 100-122, Association of Siamese Architects under Royal Patronage.

Krungsri Research. (2022). Business/Industry Trends 2022-2024 Residential business in Bangkok andMetropolitan area. Krungsri Research, July 2022.

Chatchanok Jaraswinyu, Suchinda Jiamsriphong, Panuboonjarukorn, & Sukit Khochuaklang. (2014). Model development. Process for Implementation of National Quality Award (TQA) Criteria. Journal of Business Administration, Economics and Communication, 9(2), 124-137.

Nathara Banphotnoppakao. (2018). Improvement of contractor management process according to the criteria of the National Quality Award in a private construction company. Journal of Digital Business and Social Sciences, 4(1), 115-126.

Rattikarn Sowapas. (2019). Organizational Development towards Excellence in Real Estate Development Group. Pathumthani: A national and international academic journal. Benjamit Academic No. 9.

Rattikarn Sowapas. (2020). Organizational Development for High Work Potential in the 21st Century.

Valaya Alongkorn Review Journal (Humanities and Social Sciences). Year 10, No. 2 (229-239).

May - August 2020, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the royal patronage ISSN: 2229-0931. (TCI Group 2)

John R. Schermerhorn, James G. Hunt and Richard N. Osborn. (2003). Organization Behavior (8th ed.). USA: John Wiley & Son,Inc.

Friedman, J., (2000), Dictionary of real estate terms, 2nd Edition, Barron’s, Hauppauge,

N.Y.,USA

Harper, D. (2001). Online etymology dictionary.

Merriam-Webster, M. W. D., & Springfield, M. (2005). Merriam-webster. Incorporated, Last Access, 17.

Miller, L. M. (1998). The high-performance organization an assessment of virtues and values prepared for Organizations. The CEO report. San Francisco: Jossey Bass Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย