ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1

ผู้แต่ง

  • จามร ชูสกุล มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • รวีวรรณ กลิ่นหอม มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ครู, กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริม 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1 จำแนกตามสาขาวิชาเอก และประสบการณ์การทำงาน โดยนำแนวคิดองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของ Marron and Cunniff (2014) มาเป็นกรอบในการวิจัยครั้งนี้ เพราะแนวคิดของ Marron and Cunniff เป็นแนวคิดที่มีความครอบคลุมแนวคิดของนักวิชาการท่านอื่นๆ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และเลือกตัวอย่าง 270 คนโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบบมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1 ในภาพรวมภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 2) ครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1 มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีสาขาวิชาเอกต่างกัน มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Adjei, D. (2013). Innovation leadership management. International Journal of ICT and Management, 1, 103-106.

Chanakhen, J., (2015). A study of innovative leadership Skill of school administrators at Phitsanulok primary educational service area office. Independent Study Educational

Administration Naresuan University.

Marron, J. M., & Cunniff, D. (2014). What is an innovative educational leader?. Contemporary issue in education research–second quarter, 7(2), 146-148.

Yuenying, P.,(2020). Innovation Leadership of School Administrators UbonRatchathani

Technical Colleg. Journal of Educational Innovation and Research 4(3), 330-344.

Porter-O'G.T., & Malloch, K. (2010). Innovation Leadership: Creating the Landscape of Healthcare. Sudbury, Master of Arts: Jones & Bartlett Learning.

Suangsiri, S.,(2021). Innovative Leadership Components of Teacher Under Office of

Udonthani PrimaryEducation Area 2. Thesis for the Master of Education Program in

Educational Administration and Quality Development Khon Kaen University.

Tansing, S.,(2021). Innovative Leadership of School Administrators under the Jurisdiction of Sisaket Primary Educational Service Area Office Region 4. Master of Education Program in Educational Administration Sisaket Rajabhat University.

Special Education Bureau. (2022). General information of Special Education Center, Special

Education Bureau. Retrieved September 10, 2022, from http://special.obec.go.th/article2.php

Weiss, S. D. & Legand, P. C. (2011). Innovative intelligence. Ontario: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2024

How to Cite

ชูสกุล จ., กลิ่นหอม ร., & อมรกิจภิญโญ ธ. (2024). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 1. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(5), 227–237. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/267926

ฉบับ

บท

บทความวิจัย