การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัลโดยทุนทางวัฒนธรรมเมืองลับแลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • สุทธาภา มาประกอบ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์; , สมรรถนะ; , ผู้ประกอบการดิจิทัล; , ทุนทางวัฒนธรรมเมืองลับแล

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัล โดยทุนทางวัฒนธรรมเมืองลับแลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัลโดยทุนทางวัฒนธรรมเมืองลับแลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การประเมินแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบการธุรกิจดิจิทัล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์บุคลากรครู 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการฯ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบการธุรกิจดิจิทัล และ 4) นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

        ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องมีการศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล  ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยออกแบบกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาข้อมูลตามความสนใจ  จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสามารถนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัลโดยทุนทางวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ “การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัลโดยทุนทางวัฒนธรรมเมืองลับแล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” หรือ "CPITE Model"

References

Dabamona, (2020). School Trips and Experiential Learning In Eastern Indonesia. UK : Swansea University.

David Achtzehn, (2015). Innovation…The Entrepreneur's Best Weapon. Retrieved on January 23, 2023, From https://forbesthailand.com/ news.

Department of Cultural Promotion. (2019). Value culture to value. Retrieved on February 3, 2023. From http://www.culture.go.th/culture_th/ cultural capital

Honey P. ,Mumford A. (1992). The manual of learning styles (2nd ed). Maidenhead, K: PeterHoney and Alan Mumford.

Juthaporn R. (2018). The path to success of being a digital entrepreneur who sells products online. Bangkok : Silpakorn University.

Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs,NJ: Prentice Hall.

Narit W. (2017). SET Your Startup Business Guide Know the startup business. classroom Operator of the Stock Exchange of Thailand. Retrieved on February 3, 2023. From

https://member.set.or.th/set/enterprise/Get to know startups

Natcha L. (2020). Study of Lao Khrang ethnic cultural capital. in the tourism dimension Culture to raise the economy of Ban Thung Si Long Community, Don Tum District,

Nakhon Pathom Province. Bangkok : Silpakorn University

Office of the Promotion of Local Administration Laplae District. (2013). History of Laplae City. Retrieved April 10, 2022. from http://laplaedistrict.uttaraditlocal.go.th/laplae local.

Pitchakarn C. (2022). Soft Power, Culture and Creative Economy Development in Thailand. Search On February 3, 2023. From https://www.creativethailand.org/ Soft

Power, Culture

Somjai S. (2017). New Entrepreneurship Trends in ASEAN Business. academic journal Suan

Dusit Graduate School Year 13 (No. 1). 113-122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย