กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์วิถีชีวิตในเมือง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ ศรีติสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปริญญา สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, การสร้างสรรค์วิถีชีวิตในเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 44 คน กับครูผู้สอนรายวิชาภูมิศาสตร์ จำนวน 1 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2565 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย มี 3 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 2) คู่มือกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์วิถีชีวิตในเมือง 3) แบบประเมินการสังเกตการณ์ทำกิจกรรมกับแนวคำถามหลังจากทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์การเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันครูผู้สอนมีการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบการบรรยายจากหนังสือเรียน ครูผู้สอนยังขาดด้านสื่อการสอนและเนื้อหาลักษณะเฉพาะด้านภูมิสารสนเทศที่ใช้เรียนรู้ร่วมกับนักเรียน และนักเรียนยังขาดความรู้ในเรื่องภูมิสารสนเทศเป็นอย่างมาก และผลการสร้างกิจกรรมเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนสามารถปรับใช้โปรแกรม Quantum-GIS (Q-GIS) ต่อการเรียนรู้และมีทักษะทางภูมิศาสตร์เรื่องการใช้เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยมีการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสร้างองค์ประกอบของแผนที่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันและเมืองที่สร้างสรรค์จากองค์ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ครูผู้สอนสามารถนำองค์ความรู้จากการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อนำไปพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนได้ ด้วยแนวทางในการจัดการเรียนรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์วิถีชีวิตในเมือง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านทักษะทางภูมิศาสตร์ หรือ AGCH Model

References

Anantasuk, N. (2021). New concepts for teaching geography for knowledge of geography of students in basic education. Mahasarakham : Mahasarakham University.

Borchardt, A. (2013). The Creative City: Place, Creativity & People, Glasgow and Portland. The Glasgow School of Art. Retrieved November 1, 2022, from https://issuu.com/thecreativecity/docs/creative-city.

Chantra, K. (2018). knowledge of geography. Bangkok : Chulalongkorn University Press.

Goldstein, Donna L. (2010). Integration of geospatial technologies into K–12 curriculum: An investigation of teacher and student perceptions and student academic achievement. Florida : ProQuest Dissertations Publishing.

Landry, C. (2000). The Creative City: A Toolkit for Urban Innovators. Retrieved November 1, 2022, London : Earthscan.

Office of the Basic Education Commission. (2017) indicators and core learning content Social

Studies, Religion and Culture Learning Subject Group According to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551 Geography (revised edition B.E. 2560) and guidelines for organizing learning activities. Bangkok : Ministry of Education

Office of the Basic Education Commission. (2008) indicators and core learning content Social

Studies, Religion and Culture Learning Subject Group According to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551 and the way of organizing learning activities. Bangkok : Ministry of Education

Regional Institute of Space Technology and Geospatial lower north. (2010). Manual for using

Quantum GIS program. Phitsanulok : Naresuan University.

Suwanwet, K. . (2016). The Development of Instructional Models to Enhance Teaching Competencies in Geography for Social Studies Teacher Professional Students. Nakhon Pathom : Silpakorn University.

UNESCO. (2014). What is the Creative Cities Network from UNESCO Creative Cities Network. Retrieved November 1, 2022, from http://en.unesco.org/creativecities/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย