รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัล สังคโลกเมืองพระร่วงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ปลวัชร พุ่มพวง
  • ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์, สมรรถนะนักการตลาดดิจิทัล, สังคโลก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลสังคโลกเมืองพระร่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เน้นกระบวนการจัดการศึกษาผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้  พื้นที่วิจัยได้แก่  สถานประกอบการจำหน่ายเครื่องสังคโลก อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 47 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการดิจิทัลสังคโลก จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล จำนวน 3 คน ลูกค้าร้านค้าสังคโลก จำนวน 15 คน ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 4 คน และนักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย  ได้แก่ 1)แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมของผู้ประกอบการสังคโลก 2)แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมของลูกค้าผู้ประกอบการ 3) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนักการตลาดดิจิทัล 4) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เขียนบรรยายเชิงพรรณนา 

ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์นักการตลาดดิจิทัล ที่เกี่ยวกับ เนื้อหาการเรียนรู้ตามขอบเขตของงานวิจัย  ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมการรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิชาสังคมศึกษา ในหน่วยการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต เพื่อเสริมสร้างนักการตลาดดิจิทัล มีการฝึกให้ผู้เรียนวางแผนการตลาดและการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อดิจิทัล  ทำให้ผู้เรียนมีสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ด้วยแนวคิดการจัดการเรียนรู้เสริมสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัลผ่านโมเดลการจัดการเรียนรู้ “แผนสมรรถนะนักการตลาดดิจิทัล”

References

Agency S. (1997). Digital MarketingNovotel. Bangkok : True Plookpanya.

Diez F. (2019). Research Challenges in Digital Marketing: Sustainability.Department of Business Economics, Rey Juan Carlos University, Spain.

Francisco Diez (2019), Research Challenges in Digital Marketing: Sustainability.Department of Business Economics, Rey Juan Carlos University, Spain.

Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs,NJ: Prentice Hall.

Mahaphonprachak T. (2021). "Covid Accelerates Businesses to Go Digital" Bank of Thailand.

Phuthong T. (2019). Structural Equation Model of Social Network Support towards Intent to Become New Digital Innovation and Technology Business Entrepreneurs in Agriculture of Agricultural Science Students. Nakhon Pathom : Silpakorn University.

Parinyasetthakul S, (2017). The Development of Marketing Learning Management Model to Encourage the Community Business : A Case Study of Clay Pottery Business in KohKret Community. Bangkok : Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

Suksomwattana C. (2020). Guidelines for Teaching and Learning to Promote Student Entrepreneurship: CrowdsourcingFaculty of Education. Bangkok : Chulalongkorn University.

Smith K. (2011). Digital marketing strategies that Millennials find appealing, motivating, or just annoying.Marketing, Texas A&M University.

Sirivisitkul S. (2021). Management approaches to enhance the competitiveness of the Thai garment industry. VALAYA ALONGKORN REVIEW (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCE).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย