การพัฒนารูปแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันโควิด-19 ของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • เพชรประทุมมาพร ทองอุ่นเกตุมณีศา
  • พรสุข หุ่นนิรันด์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบวิถีชีวิตใหม่,, การป้องกันโควิด–19,, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันโควิด-19 ของผู้สูงอายุ ได้ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ แบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามวิถีชีวิตใหม่ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มภาคีเครือข่าย จำนวน 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลที่ได้มาเป็นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันโควิด-19 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกัน โควิด-19 และทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง 40 คน กลุ่มควบคุม 40 คน ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบวิถีชีวิตใหม่

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับโควิด–19 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย พฤติกรรมการล้างมือ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง  พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัย มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมการเว้นระยะห่างทางสังคม และพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับดี และนำมา ประยุกต์ร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ทฤษฎีการควบคุมตนเอง แนวคิดการมีส่วนร่วม และกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนา 4 กิจกรรม หลังจากทดลองใช้รูปแบบ 4 สัปดาห์ และติดตามผล 8 สัปดาห์ ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับโควิด – 19 พฤติกรรมวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย พฤติกรรมการล้างมือ พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัย พฤติกรรมการเว้นระยะห่างทางสังคม และพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Azlan, A. A., Hamzah, M. R., Sern, T. J., Ayub, S. H., & Mohamad, E. (2020). Public knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: A cross-sectional study in Malaysia. PLOS ONE, 15(5), e0233668. doi: 10.1371/journal.pone.0233668

Chaiwat, T., et al. (2020). Lifestyle behaviors in Thai households affect the spread of COVID. –19. [Online]. Retrieved from: https://businessto-day.co/covid-19/18/04/2020

Charoensri, C., (2020). Analysis of 7 New Normals that may be seen in Thai society on the day that COVID-19 disappears. Accessible from https://www.pptvhd36.com/news/hot issues/124543

Chobpradit, S., (2020). How does the Covid 19 crisis affect social change? Covid 19 Crisis Affect Social Change. Chaiyaphum Review Journal, 3(2), 1-14.

Inthacharoen, A., Kanchanaphum, K., Tansakul, K., and Pattapatan, S., (2021). Factors influencing the behavior to prevent coronavirus disease 2019 of the people in Kho Hong Municipality. Songkhla Province Community Public Health Council Journal, 3(2) (May – August).

Khamsaen, N., (2020). Knowledge, attitude, and behavior to protect yourself from COVID-19 infection. of the people of U Thong District Suphanburi Province. King Mongkut's College of Nursing Journal, 4(1), 33-49

Limtrakul, P., (2020). Periscope relations: A case study of the COVID-19 outbreak. From mainland China to Thailand. Thai Journal of East Asian Studies, 24(2), 74-93.

Noonil, S., (2021). Factors influencing corporate social responsibility operations during crises. The spread of coronavirus disease 2019: a case study of industrial organizations large scale in Bangkok and surrounding areas, Journal of Management Science 8(1), (2021); 17-37

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education.

Phillip Kotler and Nancy Lee. (2005). Corporate Social Responsibility. Published by John Wiley & Sons, Inc., Hoboken, New Jersey.

Tobanluephop, N., et al. (2020). Perception, attitude and knowledge towards social distancing measures and the effect on compliance with the measures. Mental health and quality of life of the people in Lampang Province during the COVID-19 outbreak. Northern Health Academic Journal, 8(1) (January–June).

World Health Organization. (2020). Coronavirus. Available from https://www.who.int/thailand /health-topics/coronavirus.

Yanti,N., and Wiangpati, T., (2022). Self-care behavior. Under the situation of the spread of the coronavirus disease-19 among the people of Khlong Nueng Subdistrict. Khlong Luang District Thum Thani Province. Valaya Alongkorn Research and Development Journal under royal patronage Science and Technology, 17(1), 57-70.

Zhong, B. L., et al. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among

Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745–1752.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย