การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา สุขเสริม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, การประกันคุณภาพภายใน, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ 2)เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนสตรีชัยภูมิ จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กำหนดมาตรฐานการศึกษา รองลงมา คือ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง 2) ผลการเปรียบเทียบ การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู ของโรงเรียนสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ด้านติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา และด้านทำรายงานการประเมินตนเองไม่แตกต่างกัน

References

จำรัส นองมาก, ปฏิบัติการประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซันพริ้นติ้ง, 2544.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2559.

น้อยนัดดา มีศรี. การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2559.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. มาตรฐานการศึกษา พ.ศ.2542. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565 จาก, http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L31.pdf, 2562.

ภานพ แจ้งพลอย. การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2556.

วันทนา เนื้อน้อย. การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2560.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2, (2563). การศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579, (กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด), 2560.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย), 2561.

อุทัยวรรณ สอนเจริญ. การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแกน: พหุกรณีศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน. ปที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน, 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย