พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ เซี่ยงฉิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำแระ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • สุรพล เตชะกฤตธีรธำรง
  • สุคนธา ยางสวย
  • นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ
  • สุพรรณี ธรากุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพตนเอง; , พฤติกรรม;, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำแระ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นผู้ป่วย CKD ได้รับการดูแลรักษาที่รพ.สต.ชำแระ ในปี พ.ศ. 2562 จำนวนทั้งหมด 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทำการวัด 3 ด้าน คือ ด้านการควบคุมอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และ ด้านการรับประทานยา หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยภาพรวม จากคะแนนเต็ม 3 พบว่า ด้านการรับประทานอาหาร อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .23 ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .70 และด้านการรับประทานยาอยู่ในเกณฑ์ระดับดี คะแนนเฉลี่ย 2.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.23 แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในด้านการรับประทานยาที่ถูกต้องตามโรคของตนเองแล้ว แต่ยังมีเรื่องของการรับประทานยาก่อนและหลังอาหาร ครึ่งชั่วโมง ที่ยังไม่เป็นไปตามคำแนะนำ ด้านการออกกำลังกาย พบว่ายังขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และด้านการรับประทานอาหารยังมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

ผลจากการศึกษานี้ ช่วยให้บุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองให้กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อเป็นการชะลอ “ไตเสื่อม” และสามารถนำไปประยุกต์ในสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้ เพื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป 

References

Ahn JW, Lee SM, Seo YH. Factors associated with self-care behavior in patients with pre-dialysis or dialysis-dependent chronic kidney disease. Plos one 2022; 17(10):e0274454.

Apinya, T., Wutthiwongchai, P., Chaiyawan. H., Absuwan, N., Kampa, W., Chamniyan, N., and others. Operational manual for carrying out the work. Reduce chronic kidney disease CKD in patients with diabetes and high blood pressure. 1st edition. Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Bangkok: War Veterans Organization Under Royal Patronage; 2016

Avihingsanon, Y., Kidney disease: Complete guide to prevention and care for patients with kidney disease. First edition. Bangkok: Amarin Printing and Publishing; 2018.

Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O’Callaghan CA, Lasserson DS, Hobbs FR. Global prevalence of chronic kidney disease–a systematic review and meta-analysis. PloS one 2016; 6;11(7):e0158765.

Orem DE. Nursing: concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Ratchaburi Provincial Health Data Warehouse Health Data Center (HDC). Ratchaburi Provincial Public Health Office; 2019.

Ruangdit, B., Urairat, S., and Sama-ae, C., Development of self-care behaviors for patients with chronic kidney disease in primary health service networks. Songkhla Hospital Journal of the Southern Region College of Nursing and Public Health Network Journal 2016; 3(3):194-207.

Stomer UE, Gøransson LG, Wahl AK, Urstad KH. A cross‐sectional study of health literacy in patients with chronic kidney disease: Associations with demographic and clinical variables. Nursing open 2019; 6(4):1481-90.

Suksripeng, B., Orem's theory of self-care. [Article]. Accessed on 30 January 2019. Accessible from http://www.gotoknow.org/posts/115427

Trakanwanich, T., and Sirimongkolchaikul, O., Guide for the public What to do without kidney failure? 1st edition. Kidney Association of Thailand. Bangkok: B.N.S. Advance; 2015.

Wongsri, P., and Chintapanyakul, T., Application of Orem's theory to care and counseling of patients with heart failure. Police Nursing Journal 2018;10(1):209-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย