ผลการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ภูวดี บุญศรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, ห้องเรียนออนไลน์, กฎหมายแพ่งและอาญา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสร้างการจัดการเรียนการสอนผ่าน ห้องเรียนออนไลน์  เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนผ่าน ห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนออนไลน์  เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา

             ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์  เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1)= 81.07/ (E2) =94.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนออนไลน์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้ห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้ห้องเรียนออนไลน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระหว่างเรียน 30 คะแนน มีคะแนนอยู่ในระดับ 24.32 คิดเป็นร้อยละ 81.07 และหลังเรียน 30 คะแนน มีคะแนนอยู๋ในระดับ 28.22 คิดเป็นร้อยละ 94.08  3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนออนไลน์  เรื่อง กฎหมายแพ่งและอาญา โดยภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.50)

References

Khaemmanee, T.,(2007) Teaching science: knowledge for organizing effective learning processes. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Bloom (Bloom) quoted in Sriwat. L., (2014). Psychology for teachers. Bangkok: Odeon Store.

Upramai, P., (1997). Basic education subject set. (Humans and learning). 5th printing. Nonthaburi: Chuan Pim.

Wattananarong, K..(2006). “Professional education technology Computer Assisted Instruction”. Bangkok : Sinthawee.

Wattananarong, K,..(2006).“Professional Educational Technology Computer Assisted Instruction”.Bangkok: Sinthawee.

Sriwat, L.,.(2014).Psychology for teachers.Bangkok: Odeon Store.

Limaksorn, W., (2008). Educational Psychology. 4th printing. Songkhla: Namsin Advertising Company Limited.

Office for Educational Standards and Quality Assessment (Public Organization). National Education Act 1999. Amendment (No. 2) 2002. Bangkok.

Khowtrakul, S., .(2007). Educational psychology. 7th time. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย