โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • คณาวุฒิ ขอดอนุ -
  • ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
  • วัฒนา สุวรรณไตรย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, , ประสิทธิผล,, การบริหารโครงการ, , การเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการฯ 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการฯ ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของการบริหารโครงการฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ โดยผู้ให้ข้อมูลในโรงเรียนละ 6 คน จะได้กลุ่มตัวอย่าง 468 คน จากโรงเรียน 78 แห่ง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงเส้น โดยใช้สถิติค่าไค-สแควร์ (chi-square statistics: χ2) ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมบูรณ์ (GFI และ AGFI) และค่า CN (Critical N) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ในการยืนยันโมเดลเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร บรรยากาศโรงเรียน สมรรถนะครู และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 และค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 จำนวน 9 คน ยืนยัน พบว่าผู้เชี่ยวชาญทุกคนยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ โดยปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรง 4 ตัว คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร บรรยากาศโรงเรียน สมรรถนะครู และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์

References

Australia Capital Territory/ ACT Department of Education and Training. (2007). Conceptual Framework for School Excellence. Australia. Greenway ACT2009.

Brisk, M.E. (1998). Bilingual Education: From compensatory to quality schooling. Mahwah, N.J.: Lawrence Erlbaum Associates.

Davis, Keith and John W. Newstrom. (1989). Human Behavior at Work: Organizational Behavior. 7th. ed. New York: McGraw – Hill Book Company.

Georgia Pashiardis, (2008). Toward a knowledge base for school climate in Cyprus's schools, International Journal of Educational Management, 22(5),

Gold, N. (2006) Successful Bilingual Schools: Six Effective Programs in California. San Diego, CA: San Diego County Office of Education.

Haynes, N. M., Emmons, C. & Ben-Avie, M. (1997). School climate as a factor in student adjustment and achievement. Journal of Educational and Psychological Consultation, 8(3).

Kaiser, S.M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring a model of learning organization. Dissertation, Louisiana State University, U.S.A..

Minneapolis Public Schools. (2009). Creating a positive school climate for learning: A tool kit for building leaders, teachers and staff of Minneapolis Public Schools. Minnesota: USA..

Roger Daley, Raymond. (1978). A study of Relationships between Environment and Student Achievement. Dissertation Abstracts International 43.

Salite, Ilga & Anita Pipere. (2006) “Aspect of sustainable development from the perspective of teachers.” Journal of Teacher Education and Training.

Selvi, Kiymet. (2006).“Phenomenology of Lifelong Learning”, Analecta Husserliana: The Yearbook of Phenomenological Research. Ed. Anna-Teresa Tymieniecka. Dordrecht: Springer. Vol. XC.

Sizer, T.R. (1992). Horace’s school: Redesigning the American high school. Boston: Houghton Mifflin.

Tableman, B. (2004). Best practice briefs: parents involvement in schools. East Lansing.

Tableman, B. (2004). School climate and learning. Best Practice Briefs, No. 31, pp. 1 - 10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย