ความยั่งยืนของชุมชนภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อำพร มณีเนียม
  • สุชาติ ใหมอ่อน พระครูสุตกิจสโมสร
  • ไชยยุทธ์ อินบัว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี

คำสำคัญ:

ความยั่งยืน , ชุมชนภาคอุตสาหกรรม , ความหลากหลาย

บทคัดย่อ

แนวคิดการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้ระบบเศรษฐกิจ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนภาคอุตสาหกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนบนความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนในพื้นที่ให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสังคมเข้มแข็งและสันติสุข จึงต้องมีการศึกษาเพื่อนำองค์ความรู้ไปเป็นแนวทางในการสร้างกลุ่มชุมชนอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษารูปแบบความยั่งยืนของชุมชนภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 2)เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างเครือข่าย โดยสัมภาษณ์ผู้นำภาครัฐ ภาคชุมชน และผู้นำภาคเครือข่าย จำนวน  6 คน และทำการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

           ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความยั่งยืนของชุมชนภาคอุตสาหกรรมของชุมชนท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มี 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบความยั่งยืนของกลุ่ม 2) รูปแบบความยั่งยืนของชุมชนและสังคม 3) รูปแบบความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และ 4)รูปแบบความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างเครือข่ายของชุมชนภาคอุตสาหกรรม มี 6 วิธี คือ 1)พัฒนาศักยภาพของแกนนำ 2) กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน 3)การกระจายงานและแบ่งภาระหน้าที่ให้ชัดเจน 4) มีระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อตกลงร่วมกัน 5) มีกิจกรรมที่ทำให้สมาชิกมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 6) มีการติดตามประเมินผลและการรายงานผล 7) มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจในงานวิจัยครั้งนี้ ได้นำข้อมูลรูปแบบความยั่งยืนและการเสริมสร้างเครือข่ายของชุมชนภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมไปเป็นแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

References

Charoenwongsak, K. (2000). Network management: a key strategy for the success of educational reform. Bangkok : successmedia.

Department Of Industrial Promotion. Retrieved 5 September 2021 from https://www.dip.go.th/th/category/

Elkington J., (1997). Cannibals with Forks: The Triple Bottom Line of 21st Century Business, Oxford.

Kanjanapan, A., (2001). Capacity of the community. Chiang Mai : Chiang Mai University.

Lukthong, U., (2015). Approaches for Strengthening the Muti-Cultural Community. Journal of Information, 14(2), 37-45.

Rabob, C., Sureerat C., Phutrakul, Pim., Wannakul, P., & Helknuanchusin, In., (2017). Industrial Deveopment to 4.0. Business Review, 9(2), 249-267.

Theph singh, P., & Phromsakha na Sakon Nakhon, T., (2013). Community Improvement Guidelines for Sustainable Developmen, Humanities and Social Sciences. 30(2), 43-64.

Wiang Ampol., V. (2003). Sustainable Tourism Management in Thailand. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย