แนวทางการคัดเลือกพนักงานด้วยจิตวิทยาเชิงธุรกิจ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบญี่ปุ่น (เทะกิไซเทะกิโชะ)
คำสำคัญ:
จิตวิทยาเชิงธุรกิจ, ปัญญาประดิษฐ์, เทะกิไซเทะกิโชะ, สมรรถนะ;, 7C.บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงอุตสาหกรรมที่เหมาะสม ข้อดี ปัญหาและอุปสรรค และพัฒนาแนวทางการคัดเลือกพนักงานด้วยจิตวิทยาเชิงธุรกิจโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบญี่ปุ่น (เทะกิไซเทะกิโชะ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงในฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การตัดสินใจของผู้วิจัยเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) อุตสาหกรรมการผลิตและอุตหกรรมการบริการ สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบญี่ปุ่นในการคัดเลือกพนักงานได้ทำให้ทราบถึงสมรรถนะ พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของผู้สมัครก่อนตัดสินใจรับเข้าทำงาน สมรรถนะที่องค์กรให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ได้แก่ องค์ความรู้และทักษะ รองลงมาคือแนวคิดส่วนบุคคล คุณสมบัติประจำตัว ทัศนคติ แรงจูงใจ รวมถึงความพร้อมทางด้านร่างกายตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสรรหาคัดเลือกบุคลากร 7C 2) ข้อดีของการใช้งาน คือ สามารถเลือกผู้สมัครได้ตามคุณสมบัติที่องค์กรต้องการได้ง่ายขึ้น ทราบถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏจากรูปลักษณะภายนอกหรือจากการสนทนาทั่วไป ทำให้ประหยัดเวลาและง่ายต่อการคัดเลือก ปัญหาของการใช้งานเกิดจากตัวผู้ใช้งานเองที่ไม่เข้าใจวิธีทดสอบอย่างชัดเจนหรือมีเจนตนาไม่จริงจังต่อการทดสอบจึงส่งผลให้เกิดความไม่เสถียรหรือแม่นยำในการประเมินผล ส่วนอุปสรรค คือ ไม่สามารถประเมินผลด้วยองค์กรเองและไม่สามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้ 3) แนวทางในการพัฒนาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญแนะนำให้มีการใช้งานแบบเบ็ดเสร็จได้ด้วยองค์กรเองและควรพัฒนาให้สามารถใช้งานรูปแบบออนไลน์ได้และต้องการให้ประเมินความสามารถด้านภาษาและความสามารถพิเศษเพื่อให้รองรับการใช้งานได้ทุกมิติ
References
Alan, E. Hall (2017). The 7 C’s of Hiring Great Employees. Retrieved Jan 20, 2021, from https://www.linkedin.com/pulse/7-cs-hiring-great-employees-alan-hall3.
Champathong, S. (2017). Business Psychology. Journal of Management Science Suan Sunandha Rajabhat University. Year 4, Issue 1, January - June 2017.
Mcclelland, D. C. (1974). Testing for competence rather than for Intelligence American Psychologist, 29 (1), 59–59. doi: 10.1037/h0038240. Retrieved Jan 20, 2021
McClelland, D. C. (1975). A Competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.
Lund, S. (2021). The future of work after COVID-19. Retrieved Feb 18, 2021, from https://www.mckinsey.com/featured-insights/future-of-work/the-future-of-work-after-covid-19.
Mongkhon, N. (2020). Mental Health Articles. Institute for Population and Social Research. Mahidol University. Retrieved April 15, 2021. From https://www.dmh.go.th/news/
Orawongsupatat, C. (2020). 3 Articles Guidelines for Selecting the “Right Person” to Drive the Organization, HR Journal Society Magazine. Retrieved April 10, 2022, from https://www.dharmniti.co.th/management-peopel-tipsforrecruit/.
Taithong, O. (2021). Academic Article on Employee Selection Guidelines with Business Psychology. Papers from the 18th National Academic Conference and Research Presentation on "Leading a New Life Society with Research and Innovation", via Yealink Meeting, Western University, On June 3-4, pp. 126-145.
Thungkamonphisut, W (2021). HR Corner Column. COVID has made HR different. Retrieved February 15, 2021, from https://www.prachachat.net/csr-hr/news-701209.
Wangkit, Suvimol and Punpanich, Noppadol. (2019). Management Approach of Small and Medium Food Processing Business for Success in Franchise System. Asian Administration & Management Review, Vol. 2, No. 2, 2019, pp. 280-289.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.