การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ระวิวรรณ พรหมวรรณ
  • ชุติมา มุสิกานนท์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, โรงเรียนขนาดเล็ก, ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อกำหนดองค์ประกอบ และตัวชี้วัด 2) พัฒนาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการวิจัย ด้วยเทคนิคเดลฟาย 3) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน เพื่อรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และ 4) ประเมินความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 150 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และพิสัยควอไทล์

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการพัฒนาครูผู้สอน ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2) ผลการประเมิน พบว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทั้งหมดที่กล่าวมาทุกด้าน และอยู่ในระดับมาก

References

Best, John W. (1981). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice. Hall Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing(5th ed.). New York : Harper Collins.

Chuphong, P., (2013). Management of small schools with participation of communities and local administrative organizations. Doctor of Philosophy Thesis Department of Public Administration Graduate School of Management Studies Sripatum University.

Delaney. (2000). “Parent Participation in District - level Curriculum Decision – Making : A Year in The Life of A School District,” Proquest Digital Dissertations. 60 (7) : 349.

Gold, S.E. (2000). “Community Organizing at a Neighborhood High School : Promises andDilemmas in Building Parent - educator Partnership and Collaborations,” Pro Quest Digital Dissertations. 60 (7) : 295.

Patmasiriwat, D., (2010). Finance for society: Imagination and research for a better society. 5th printing. Bangkok: P.A. Living.

Romsri, S., (2016). Management model to raise the quality and standards of educational institutions. Roi Et Primary Educational Service Area Office, Area 1. Praewa Kalasin Academic Journal Kalasin University. 3(1): 9-26.

Somabutra, S., (2017). Guidelines for developing the quality of small schools. Under the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office, Area 4. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University. 36(6): 28-41.

Summat, S.,(2014). Educational management model to develop student quality in small schools. Under the jurisdiction of the Kalasin Primary Educational Service Area Office, Area 3. Thesis, Ph.D. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.

Theppkraiwan, P., (2011). Development of a cooperation network model for the quality of education in small primary schools. Doctor of Philosophy Thesis Graduate School :Khon Kaen University.

Wagner, Tony. (2012). Tony Wagner’s Seven Survival Skills. Available from http://www.tonywagner.com/7-survival-skills.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย