นโยบายท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พรเทพ พงศ์เจนธรรม -
  • สืบพงศ์ สุขสม

คำสำคัญ:

เมืองอัจฉริยะ, ท่าเรืออัจฉริยะ, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี และ 3) เสนอรูปแบบท่าเรืออัจฉริยะและความเชื่อมโยงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐในจังหวัดชลบุรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี 20 คน และกลุ่มเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี 20 คน และการสนทนากลุ่มกับตัวแทนขององค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการขนส่งท่าเรือ ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี เป็นการนำเสนอนโยบายการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จังหวัดชลบุรีมีความพร้อมทางกายภาพคือ มีความคล่องตัวเนื่องจากมีระบบโครงข่ายการคมนาคมที่ครอบคลุมและมีความหลากหลาย จังหวัดมีการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมดีในระดับระหว่างเมือง 2) การพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรี ในสภาพการณ์ปัจจุบันยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ภาคเอกชนไม่ได้มีการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มีงบประมาณที่จำกัดไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ ตลอดจนปัญหาของโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีในพื้นที่ทำความเข้าใจถึงความซับซ้อนของพื้นที่และปัญหาการพัฒนาท่าเรือได้ยาก และ 3) รูปแบบท่าเรืออัจฉริยะและความเชื่อมโยงในพื้นที่ เพื่อพัฒนาให้เป็นท่าเรือศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ จึงควรถ่ายโอนภารกิจภาครัฐจากส่วนกลางมาสู่ส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน  สนับสนุนและส่งเสริมจังหวัดดำเนินการด้วยตนเองเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะจังหวัดชลบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Asawakonnirangkun, Phuwan. (2019). Adaptation of Thai logistics service providers in the digital era. Journal of Humanities and Social Sciences Ratchaphruek University. 16-30.

Chaiprasert, Natnatcha. (2022). Local Roles and Smart City Management. Journal ofMCorn Pali Sueksa Buddhagosaparitas. 8(1), 71-84.

Chutnitikun, Nutphimon & Mungmuang, Somdet. (2019). New Public Administrative Approach of the Ministry of Agiculture and Cooperatives on Supervising Credit Union Cooperatives. Journal of MCU Peace Studies. 8(5), 1833-1844.

Eiamtrakul, Phawinee, Ruangrattanaamporn, Aisoon and Chinpiriya, Pattiya. (2017). Policy Analysis Framework for Area Development Planning Around Mass Transit Stations for Sustainable Urban Development. Journal of Architecture and Urban Planning Research and Information, 10(2), 95-122.

Homchuen, Pornchai. (2020). Pulling ‘Al-Big Data Ta’ to make Laem Chabang to be ‘Smart Port’ Retrieved May 16, 2021. From https://www.thansettakij.com/

Huangkit, Sanchai and Woraphatthirakul, Paphatsorn. (2021). Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 6(1), 363-378.

Katwattana, Pornphit. (2019). Pushing forward the strategic plan to increase capacity “Laem Chabang Port Smart Ports of the EEC”. Retrieved 29 April 2021. From

https://www.saika.co/2019/01/16/

Office of the Secretariat of the House of Representatives. (2018). Smart environmental city. Retrieved May 18, 2021. From http://library2.parliament.go.th/ebook.

Rerkjumnian, Montree. (2019). “Associate” failed to meet the criteria for Laem Chabang

auction phase 3. The port is open for new opinions. Matichon online. Retrieved October 6, 2022 from http://www.matichon.co.th

Suebsiribut, Wattanachai and Suksom, Suebpong. (2021). Dovelopment of Electronic Identification Cards and Reducing Redundancies in Modern Thai Government Relations. Dhammathas Academic Journal. 21(4). 143-154.

Sangkaew, Buchita, et al. (2021). Environmentally friendly port management guidelines with

the environment and the rights of local fishing communities in the area of the Eastern Economic Corridor Project, a case study of Chonburi Province. King Prajadhipok’s Institute. 154-180.

Wongkachonkitti, Nantawan. (2016). Service Policy of Smart Provinces of Thailand. Valaya Longkorn Research and Development Journal under royal patronage Humanities and Social Sciences, 11(3), 365-377.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย