การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภราดร เพ็งแจ่ม -
  • สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล
  • ชัยวุฒิ จันมา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การดำเนินงาน, ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยโดยจำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะขององค์กร และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย จำนวน 226 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA และการการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Adjusted R2, F และ t

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย ทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามที่ตั้งองค์กร โดยรวมไม่พบความแตกต่าง เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย ด้านลูกค้า และด้านการดำเนินการภายในมีความแตกต่างกันตามที่ตั้งขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 2) ปัจจัยการบริหารจัดการทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 69.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยในภาพรวม โดยเรียงตามลำดับอิทธิพล ได้แก่ การบังคับบัญชาสั่งการ การวางแผน การประสานงาน การควบคุม และการจัดองค์กร

References

จิราภรณ์ บุญยิ่ง. (2559). การบริหารจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 11(1), 136-148.

วรรณวรางค์ รัตนานิคม. (2563). การศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEM36.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยสู่อาเซียน...พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/TH/K-EconAnalysis/Pages/ ViewSummary.aspx?docid=32570

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรี. (2561). วิเคราะห์สงครามการค้าเปิดฉากวิกฤติหรือโอกาสของไทย สืบค้น จาก https://thaipublica.org/2018/07/krungsri-research-5-7-2561/

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2561. งานพัฒนาองค์ความมรู้สำหรับ SME (Knowledge Center). สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย