การศึกษาการใช้คำนามที่นำมาใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามจากบทสนทนา ในสื่อการเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

ผู้แต่ง

  • นพาวรรณ์ ใจสุข -
  • โกวิทย์ พิมพวง
  • เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คำบุรุษสรรพนาม, สื่อการเรียน, ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำนามซึ่งนำมาใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามในสื่อการเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดภาษาศาสตร์สังคม เก็บข้อมูลจากบทสนทนาในหนังสือเรียนระหว่างปี พ.ศ. 2543-2564  และเก็บข้อมูลจากบทสนทนาในสื่อสังคมออนไลน์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้เรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยวิเคราะห์เนื้อหา เขียนบรรยายเชิงพรรณาและนำเสนอร่วมกับตารางแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า คำนามซึ่งนำมาใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามพบ 10 ประเภทได้แก่ 1) คำเรียกญาติแท้ 2) คำเรียกญาติที่ไม่ใช่ญาติ 3) คำเรียกตามบุคคลอื่น 4) ชื่อบุคคล 5) คำเรียกอาชีพ 6) คำนำหน้า ยศ ตำแหน่ง 7) คำหรือวลีแสดงความรู้สึก 8) คำยืมจากภาษาอื่น 9) คำซึ่งใช้พูดกับพระสงฆ์ และ10) คำราชาศัพท์ คำนามที่พบว่านิยมใช้แทนคำบุรุษสรรพนามเรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ชื่อบุคคล คำเรียกญาติและคำเรียกอาชีพ ส่วนคำที่พบน้อยได้แก่ คำซึ่งใช้พูดกับพระสงฆ์และคำราชาศัพท์ เพราะสื่อการเรียนมีสถานการณ์ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์และราชวงศ์น้อยมาก และยังพบว่าการใช้คำนามซึ่งนำมาใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านสังคมได้แก่ เพศ อายุ ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนาในเรื่องบทบาท คือการรู้จักกัน ความสนิทสนม และกาลเทศะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ด้านวัฒนธรรมได้แก่ ความอาวุโส ความอ่อนน้อม ความเคารพ การยกย่องให้เกียรติ ความรักใคร่เอ็นดู ความเป็นพวกพ้อง เป็นต้น

References

Angsuviriya C. (2016). Language and society. Bangkok: Odeon Store

Kuophongsak N. (2012). Problems in using Thai language for foreign students: A case study of Chinese students at Bangkok University. Ramkhamhaeng Journal Humanities edition. 31(1). 123-139.

Na Nakhon P. (1999). Thai-Thai translation dictionary. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Netsuksang S. (2018). REFERRING EXPRESSIONS AND REPRESENTATIONS OF TIME IN THAI AND ENGLISH VERSIONS OF NOVEL: A CASE STUDY OF “THE HAPPINESS OF KATI” Master of Arts Thesis. Department of Linguistics for Communication. Thammasat University

Paicharoen. N. (2016). A Conversation Analysis of Dialogues in Thai Textbooks for non-native learners. Doctor of Philosophy Thesis. Major of Linguistics. Department of English and Linguistics, Thammasat University.

Palakornkul A. (1972). A socio-linguistic study of pronominal strategy in spoken Bangkok Thai. Ann Arbor, Mich: University Microfilms International.

Phanupong V. (2000). The structure of Thai: a grammar system. Bangkok: Ramkhamhaeng University Printing House.

Phanthumetha B. (2012). The structure of the Thai. 12th printing. Bangkok: Ramkhamhaeng University Printing House.

Phantumetha N. (2016). Thai Grammar. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.

Ponmani S. (2002). Foundations of teaching Thai as a foreign language. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House

Pimpuang K. and Yuttapongtada M. (2022). Efficiency of Educational Innovation to Enhance the Potential of Thai Conversation for Foreign Students at Kasetsart University. Journal of Positive School Psychology http://journalppw.com 2022, Vol. 6, No. 6, 1076-1085

Prasithrathasint A. (2013). Sociolinguitics, Fifth Edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House

Prachansit C. and Yenbutra P. (2021). Using Thai and Chinese Personal Pronouns of Chinese Students. Graduate School Journal Suan Dusit University Year 17, Issue 2, May - August 2021

The Royal Institute. (2003). Dictionary, Royal Institute Edition 1999. Bangkok: Royal Institute.

Sathiansukon S. (2010). Errors in Thai Writing Made by Chinese Students: A Case Studyof University of Thai Chamber of Commerce, Academic Year 2008-2009. Thai language for communication. Faculty of Humanities. University of the Thai Chamber of Commerce.

_______ (2011). Teaching Thai to Chinese Students: Condition, Problems and Solutions. Thai language for communication. Faculty of Humanities. University of the Thai Chamber of Commerce.

Wardhaugh R. (2002). an introduction to Sociolinguistics. Massachusetts: Blackwell Publishers Ltd.

Wen Qingyu. (2013). Problems of Thai Personal Pronoun Usage Based on Sociolinguistics of Chinese Students Studying Thai Language. Master of Education Thesis. Teaching Thai. Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย