การเสริมสร้างแรงจูงใจในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4

ผู้แต่ง

  • อำพร เปียสูงเนิน ประเทศไทย
  • วิษณุ สุมิตสวรรค์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน; , ปัจจัยพื้นฐาน; , ปัจจัยจูงใจ; , สำนักงานศาลยุติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่าแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในองค์กรควรเป็นอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรม     ในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลวิจัยพบว่า ข้าราชการศาลยุติธรรมในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 มีแรงจูงใจในภาพรวม ข้าราชการศาลยุติธรรมส่วนใหญ่รู้สึกดีกับบรรยากาศการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในบริเวณศาล ส่วนใหญ่มีความพอใจในระบบเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มีความเหมาะสมและยุติธรรม และพบว่าข้าราชการศาลยุติธรรมส่วนใหญ่    มีความสุขกับการทำงานเมื่องานที่ทำนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย ในด้านปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน งานวิจัยนี้พบปัญหาจำนวนอัตรากำลังไม่เพียงพอ ปัญหาปริมาณงานมากกว่าจำนวนผู้ปฏิบัติงาน และปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลต่อการลดแรงจูงใจ  ในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพบว่าข้าราชการศาลยุติธรรมต้องการให้มีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานและลดขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งการเพิ่มค่าตอบแทนรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ แก่ข้าราชการศาลยุติธรรม และมีความคาดหวังกับการโยกย้ายกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

References

Court of Justice. (2022). Departments within the Court of Justice. Retrieved April 4, 2022. from https://www.coj.go.th/th/content/category/detail/id/6/iid/121186

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Intasarho, H. & Sornmanee, C. (2022). Performance effectiveness under the epidemic situation of Coronavirus disease 2019(COVID-19): A case study of Saphansung district, Bangkok Metropolitan Administration.Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 5(1), 226 - 250.

Jerome, N. (2013). Application of Maslow’s hierarchy of needs theory; impacts and implications on organizational culture, human Resources, and employee performance. International journal of business and management invention, 2(3), 39-45.

Jirapongrapee, A. & Kalyanamitra, K. (2021). Personnel management of office of the Court of Justice. Humanities and Social Science Research Promotion Network Journal, 4(1), 79 - 91.

Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Nakmanee, N. & Noppanatwongsakorn, R. (2021). Motivation for the performance of duties by the government officer of the office of education in Bangkok. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 8(1), 61 - 71.

Phinpradub, N.(2019).Quality of working life of Bangkok Metropolitan Administration Officer. Journal of MCU Humanities Review, 5(1), 171 - 180.

Salakham, N. & Kanjanaphan, R. (2022). Incentives motivation of schools teachers’ As Huaikhwang District Office Under Bangkok. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(3), 42 - 55.

Sirisophonrat, W. & Phinaitrup, B. (2020). Personnel Development Affecting the Efficiency of Work: a Case Study on Government Service of Phitsanulok Provincial Government Offices. Suan Sunandha Academic & Research Review, 12(1), 30 - 47.

Sriudomkul, P. & Ramanust, S.(2022). Job Satisfaction as a Mediator Variable Between Job Motivation and Work Environment That Affecting Job Efficiency of Full-Time Employees in a Car Door Lock Manufacturing Company in the Siam Eastern Seaboard Industrial Estate. Rajapark Journal, 16(45), 250 - 265.

Sungtong, S. (2021). Factors Affecting Work Motivation of Sub-District Administrative Organization

Personnel ,Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province. Journal of Academic for Public and Private Management, 3(2), 100 - 109.

The Law for the Organization of the Court of Justice Act B.E. 2000 (May 18, 2000). Government Gazette. book 117 when 44 A. page 1-12.

Zumitzavan, V. & Kantavong, P. (2018). Increasing organizational success through management styles of managers in housing development industry. Panyapiwat Journal, 10 ( special issue), 110–123.

Zumitzavan, V. (2011). The impact of managers’ learning styles and leadership styles and the effectiveness of their organizations: a case study from small retail tyre companies in Thailand. Asia Pacific Business Review, 18(4), 1-24. DOI:10.1080/13602381.2012.694724

Zumitzavan V., Michie J. (2015) Discussion of Research Findings. In: Personal Knowledge Management, Leadership Styles, and Organisational Performance. SpringerBriefs in Business. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-287-438-2_4

Zumitzavan, V. (2022). Practical strategy for maintaining organizational performance in the hospitality industry of Thailand. International Journal of Management Practice, 15(1), 108-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย