การพัฒนาการบริการสาธารณะของนิติบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการบริการสาธารณะ, นิติบุคคล, การเพิ่มประสิทธิภาพ, การบริหารอาคารชุด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการบริการสาธารณะของนิติบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่วิจัย คือ นิติบุคคลอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ ผู้ปฏิบัติงานนิติบุคคลอาคารชุด เจ้าของกรรมสิทธิห้องอาคารชุด ข้าราชการ และนักวิชาการ จำนวน 17 คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริการสาธารณะของนิติบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริการสาธารณะ ด้านการบริหารอาคารชุด ด้านการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม 6 และด้านประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุด พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริการสาธารณะของนิติบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี พบว่า การบริการสาธารณะ การบริหารอาคารชุด และหลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลร่วมกันต่อการบริการสาธารณะของนิติบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี (มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01) ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 97.1 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.770, 0.200 และ 0.156 ตามลำดับ 3) การพัฒนาการบริการสาธารณะของนิติบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย ด้านความสนใจและความตั้งใจในการทำงาน ด้านความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ด้านความคาดหวังในตำแหน่งงาน ด้านความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านความเสียสละเพื่อองค์กร อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 คือ กระทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ใช้วาจาสุภาพพูด แสดงท่าทีที่ด้วยจิตเมตตา แบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม ประพฤติสุจริตเคารพกติกาหมู่คณะ และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น   

References

Chupradit, S et al. (2012). “The concept of creating a partnership between the public and private sectors to enhance the level of public services of local government organizations”. Academic journal Suvarnabhumi Institute of Technology. Year 1, Issue 1 (January - April, 2012): 134.

Chotipanich, S. (2001). Concepts of physical resource management. Bangkok: Chalermchai Printing Company.

Phrakru Phawana Inthawong. (2016). “Management strategies for charity schools of Buddhist temples. Ratchaburi Province”. Doctor of Buddhist Studies. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Thammasathit Thitsuko, P. (Yang Bunsong). (2018). “Applying the 6 principles of Saraniyadhamma in the work of Ron Phibun Subdistrict Municipality personnel. Ron Phibun District Nakhon Si Thammarat Province”. Nakhon Ratchasima College Journal. Year 12, Issue 1 (January - April 2018): 110 - 121.

Thepsaengthong, A. (2016). Professional foundations of condominium and housing development management, 5th edition. Bangkok: Chaiwatana Printing.

Srisomwong, R. (2009). Development of condominium laws. Bangkok: Chaiwattana Printing Company.

Sotthipinyo, S. (2015). “The relationship between satisfaction with management and employee ethics. Manage condominium juristic persons”. Business Administration, Marketing

Yaemsuwan, N. (2016). “Application of Saraneeatham principles to enhance harmony in nursing professional practice in Bang Sai Hospital. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province”. MCU Journal Buddhapanya Review. Year 1, Issue 1 (January - April 2016): 49 - 58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย