การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์
  • พระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม
  • พระมหาชินภัทร ฉินฺนาลโย อุทัย ภูบังดาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, กิจกรรมการเรียนรู้, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ   โดยใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน และปัจจัยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นกรอบการวิจัย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุคัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 372 คน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ คัดเลือกโดยเจาะจง จำนวน 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. วิถีและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี เป็นคนดั้งเดิมที่เกิดและเติบโตจนชราในพื้นที่
    มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบอาชีพมีรายได้และเลี้ยงตัวเองได้ มีผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือ มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมดี และมีสภาพแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
  2. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ การเรียนรู้ด้านร่างกาย การเรียนรู้ด้านจิตใจ การเรียนรู้ด้านสังคม และการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
  3. ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านสถาบันทางสังคม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัญหาอุปสรรคการจัดการ

องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนำไปกำหนดเป็นนโยบายเพื่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และนำการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้

References

Acting Sub Lt Sutthaya Obom and Sanya Sodprasert. Factors affecting active aging of the elderly in the society. Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 7 No. 1 (January – March, 2022): 238.

Bureau of Health Promotion, Ministry of Public Health.(2005). Guidelines for training leaders of health building clubs fitness for health Food is nutritious, safe, and healthy for health workers. 3ed. Bangkok: Receiving and Package Organization Printing House.

Department of Health. (2557). Quality of life improvement. Bangkok: Ministry of Public Health.

Department of provincial Administration, Official statistics registration systems. (2020). Statistics of the elderly in Thailand 77 provinces. [Online]. Retrieved February 1, 2021, from http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.

Duangkamon Pokaew. (2018). The Development of Living a Life of the Elderly according to Buddhist Educational Administration. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkorn

rajavidyalaya University.

Orem, D. E. Nursing Concept of Practice. 4ed. St. Louis: Mosby Year Book, 1991.

Phrakhrusangharak Songphan Jayadatto, Dr. (Phiromporn) and Others, (2016). The Roles of Buddhist Monastery in Developing the Quality of Life for the Elderly: A case Study of Wat Luang Phor Sod Dhammakayaram, Damnoensaduak District, Ratchaburi Province. (Research Report). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ratchaburi Buddhist College.

Phramaha Chaiyon Gambĩravãdĩ (Thephan). (2019). The Model of Quality of Life Development for the Elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Kamolporn Kalyanamitra. Quality of life of the elderly, Turn lord into power, Contribute to social development. Journal of MCU Buddhapanya Review. Vol. 7 No. 2 (April-June 2022) : 33.

The Elderly Act 2003. (2003, December 31). National Gazette. (No. 122/130ก).

The WHOQOL Group. Development of the WHOQOL: Rationale and current status. International Journal of Mental Health, 1994.

United Nations. Data sheet for population aging. New York: United Nations, 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย