การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • ธนวิทย์ วรโพธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิศากร บุญเสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การโต้แย้งของนักเรียน, ชั้นเรียนคณิตศาสตร์, การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดซึ่งเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการโต้แย้งในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอำนวยความสะดวกในการสร้างความรู้และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 คน จากโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ โพโตคอล วีดิทัศน์จากการสังเกตชั้นเรียน และใบกิจกรรมของวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ Inprasitha (2014). และกรอบแนวคิด การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Knipping (2008) ผลการศึกษาการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด หน่วยการเรียนรู้เรื่อง วงกลม จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Knipping (2008) ตามการศึกษาชั้นเรียน 3 ขั้นตอน ดังนี้

          ผลการวิจัยพบว่า 1.การร่วมมือกันออกแบบบทเรียนวิจัย (Plan) การร่วมกันวางแผนเป็นการร่วมมือกันระหว่างนักวิจัย ผู้ประสานงานโรงเรียน ผู้ช่วยวิจัย และครูผู้ที่ทำการสอน มุ่งเน้นไปที่การเสนอข้อโต้แย้งของนักเรียนหรือการคาดเดา จะพบว่ามีแนวคิดการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่ได้คาดการณ์ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาการของการโต้แย้ง 2. การร่วมมือกันสังเกตบทเรียนวิจัย (Do) ในขั้นตอนนี้ครูจะนำแผนการสอนไปใช้จริงในชั้นเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาด้วยตนเอง พบประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนที่แตกต่างกันทั้งประเด็นและเหตุผลที่หลากหลาย แสดงให้เห็นว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อให้เกิดประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนที่หลากหลาย 3. การร่วมมือกันอภิปรายและสะท้อนผลบทเรียนวิจัย (See) จะสะท้อนเกี่ยวกับผลที่ได้จากการ สังเกตการณ์สอนเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนการสอน พบว่าทั้ง 19 ประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์มีโครงสร้างที่แตกต่าง

References

Antonia Larrain, Universidad Alberto Hurtado; Christine Howe. (2014). University of Cambridge; Julieta Cerda, Universidad Alberto Hurtado. Argumentation in Whole-Class Teaching and Science Learning. The research reported was funded by the Chilean

Eemeren, F., & Grootendorst, R. (2004). A Systematic Theory of Argumentation. The Pragma-Dialectical Approach. Cambridge: Cambridge University Press.

HAREL, Guershon; SOWDER, Larry. (2007).Toward Comprehensive Perspectives on the Learning and Teaching of Proof. In: LESTER, Frank (Ed.). Second Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. Greenwich, CT: Information Age, 2007. P. 805-842.

Inprasithaha, M. (2014). Processes of Problem Solving in School Mathematics , Faculty of Education, Khon Kaen University. [in Thai]

KNIPPING, Christine. (2008). A Method for Revealing Structures of Argumentations in Classroom Proving Processes. ZDM – The International Journal on Mathematics Education, Berlin, v. 40, n.3, p. 427-447

Krummheuer, Götz. (2000). Studies of Argumentation in Primary Mathematics Education .Universität Berlin, Habelschwerdter Allee 45, D - 14195 Berlin.

Murata, A. (2011). Introduction: Conceptual Overview of Lesson Study. In L.C. Hart, A.S.Alston,. Murata (Eds.). Lesson Study Research and Practice in Mathematics Education: Learning Together. New York: Springer.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. Proceeding of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME 24), Hiroshima, Japan: Hiroshima University, 39-54

Office of the education council. (2016). State of Thai Education 2014/2015, “How to reform Thai education to keep up with the world in the 21st century”. Bangkok: Fine Print.

________. (2020). State of Thai Education 2018/2019 Education Reform in the Digital Era (2020). Bangkok: Fine Print. [in Thai]

Pi-Jen Lin. (2018). “The Development of StudentsÊ Mathematical Argumentation in a Primary Classroom.” National Tsing Hua University (NTHU), Hsinchu –Taiwan

Rumsey, Chepina. (2012). “Advancing FourthGrade Students’ Understanding of Arithmetic Properties with Instruction That Promotes Mathematical Argumentation.” PhD diss., Illinois State University.

Stein, M. K. (2001). Mathematical argumentation: Putting umph into classroom discussions. Mathematics Teaching in the Middle School, 7(2), 110–112.

Toulmin (2003). The use of argument. New York: Cambridge University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย