นโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ภูวดิษฐ์ นันทสกุลสิทธิ์ -
  • ตรีเนตร ตันตระกูล

คำสำคัญ:

นโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
2) เพื่อวิเคราะห์ผลของนโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนานโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง รวม 20 ท่าน ได้แก่ ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมแนวใหม่ และทำการสนทนาเป็นกลุ่มย่อยกับผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ผู้แทนจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมแนวใหม่ รวม 20 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) นโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มีความสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อนาคต คือ การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม ด้วยการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมร่วมกับภาครัฐ และเร่งหาความง่ายต่อการทำธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย 2) นโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะทำให้ผู้ประกอบการและบุคลากรมีสมรรถนะสูง ทั้งด้านทักษะการผลิตการบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมและดิจิทัล ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และ 3) แนวทางการพัฒนานโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ภาครัฐควรให้การสนับสนุนจัดหาแหล่งเงินทุนและเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุน ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ที่เหมาะสมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน มาตรการทางด้านภาษี โดยเฉพาะภาษีนำเข้าและให้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ

References

Industrial development in Thailand: past, present and future (2016). Online: source https://laymaneconomicsblog.wordpress.com/2016/09/16/143/).

Jitlada Maiman and Sombat Teekasap. (2016). Industry 4.0: Part 1-Environmental Awareness. Eastern Asia University Academic Journal Science and Technology Edition. 10(2) (May-August 2016).

Chutika Kiatruangkrai, Pornchanok Thepkham and Watcharin Chinworawattana. (2020). How far has Thai industry come in ten years? Bangkok : Bank of Thailand.

Patrawech Tarawechrak, and Thongtung Thonglum. (2019). Macro-Environment of Thai Electronics Industry under Thailand Industrial Development Strategy 4.0. Thai Science and Technology Journal, 1490-1500.

Pavin Chinachot, Phuriphat Chankit, Suradej Wangthong, Kanyanuch Kittipongpittaya, and Waraporn Suksanchananan. (2019). Assessment of the readiness of the industrial business sector towards the Industry 4.0 era of Thailand. MUT Journal of Business Administration. 16(1) (January – June).

Eastern Province Group Strategic Management System. (2020). Online. Source: http://osm.chonburi.go.th)

Saran Wattana and Noppadol Dejprasert. (2017). Human Resource Competency Development 4.0 to increase operational efficiency to Thailand 4.0. (2017): p. 1-7.

Suwimon Tirakanan. (2006). The use of statistics in social science research: a practical approach. (2nd edition). Bangkok : Chulalongkorn University.

Archanun Kophaiboon and Juthathip Chongvanit. (2015). Policy Brief. Bangkok: Chulalongkorn University.

M Report. (2020). Future view of manufacturing industry. Online. Source: https://www. mreport.co.th/experts/business-and-management/101.

Moneyhub. (2022). Online. Source: https://moneyhub.in.th.

UNIDO. (2017). Industrial Development Report 2018 Demand for Manufacturing: Driving Inclusive and Sustainable Industrial. Development”Vienna

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

นันทสกุลสิทธิ์ ภ. ., & ตันตระกูล ต. (2023). นโยบายการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก . วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 224–236. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/262891

ฉบับ

บท

บทความวิจัย