การบริหารจัดการภาวะวิกฤต จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

ผู้แต่ง

  • นภัทร ชัยธราโชติ -

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ภาวะวิกฤต, การแพร่ระบาด, ไวรัส COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคประชาชน รวม 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบายภาครัฐ/กฎหมาย/มาตรการ/กฎ/ระเบียบ
2) ด้านโครงสร้างการบริหารสถานการณ์ 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านงบประมาณ 5) ด้านวัสดุอุปกรณ์/เทคโนโลยี 6) ด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และ 7) ด้านความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 (2) ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า 1) บุคลากรขาดแคลน 2) วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ไม่เพียงพอ 3) ภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ให้
ความร่วมมือ 4) การจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเอกภาพ 5) วิธีการสื่อสารไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และการรับรู้ของประชาชน และ (3) แนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า 1) ต้องมีแผนการที่ดีในการรับมือ 2) การตัดสินใจต้องกระทำบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร 3) การสื่อสารต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
4) จัดสรรทรัพยากรทางการบริหารให้เพียงพอ 5) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ และ
6) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

References

กรกนก จิรสถิตพรพงศ์. (2564. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม ที่ดีของรัฐบาล กรณีศึกษา: สถานการณ์ COVID-19. วารสารธรรมศาสตร์, 40(3), 93-113.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติด เชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 16-34.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564, 4 กรกฎาคม). สวนดุสิตโพล' ชี้รัฐแก้ 'โควิด-19' เหลว ไม่ตรงจุด ทำคนตกงาน เศรษฐกิจแย่. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/

politics/946935

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร. (2564). คาดล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือน เสี่ยงทำไทยเข้าสู่ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยอีกปี. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://advicecenter.kkpfg.

com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/gdp-cut-due-to-lockdown-in-2021

กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. (2560). สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. นครราชสีมา: กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่ายสํานักงาน

ป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา.

ข่าวสด. (2564). ไทยรั้งกลุ่มท้าย อันดับ 118 ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด ทั้งกระจายวัคซีน-กระตุ้นเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2564, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2563). พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อย ในเขต เทศบาลเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน- ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และอมเรศ กลิ่นบัวแก้ว. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19). วารสารการบริหารนิติ บุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 27-44.

ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล. (2564). อิทธิพลของนโยบายรัฐบาลและการจัดการภาวะวิกฤตที่มีต่อกลยุทธ์

การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคบริการในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วง วิกฤตของโรคระบาดโควิด-19. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 75-92.

วรัญญา จิตรบรรทัด. (2564). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 11. นนทบุรี: สถาบันวิจัย

ระบบสาธารณสุข.

สมชัย จิตสุชน และคณะ. (2564). ข้อเสนอเพื่อการควบคุมวิกฤตโควิดระลอก 3 ในไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี.

สำนักข่าว วอยซ์ทีวี. (2564). ไทยสาหัส รั้งท้าย 'โลก-อาเซียน' ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก https://voicetv.co.th/read/yqVXn6vGn

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2563). ไทยครองอันดับ 1 ประเทศที่ฟื้นตัวและ รับมือโควิด

-19 ดีที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล.

Berkley, G. E. (1975). The craft of public administration. Boston: Allyn and Bacon.

Boston, J. et al. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Auckland: Oxford University Press.

Christopher, C. H. (1991). A Public Management For All Seasons?. Public Administration, 69(1), 3-19.

Covello, V. (1995). Risk Communication Paper, Opening the Black Box Risk Conference. Mcmaster University.

Michael, B. (1998). Training Managers to Communicate Effectively. Industrial and Commercial Training, 30(4), 131-136.

Slaiken, K. A. (1990). Crisis Intervention: A Handbook for Practice and Research. Allyn & Bacon.

William Erwin. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย