คิลานเภสัช : รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อญาภรณ์ พรหมแก้ว -
  • เดชชาติ ตรีทรัพย์ และ พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คิลานเภสัช, รูปแบบ, การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาคิลานเภสัชและบูรณาการคิลานเภสัชกับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย 3) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “คิลานเภสัช : รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช”การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเจาะจง และจัดเวทีเสวนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้เพื่อจัดการให้เกิดแนวทางที่สมดุลในการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงวัย การดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยต้องครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และมีการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งทางด้านกายและจิตเพื่อสุขภาพที่ดีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ
  2. การบูรณากการคิลานเภสัชในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย พบว่า รูปแบบการดูแลการสุขภาพผู้สูงวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยโดยการดูแลแบบองค์รวมเป็นการผมผสานการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์และด้านสังคม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงวัยทั้งแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนปัจจุบัน อนาคตเมื่อผู้สูงวัยได้รับการดูแลจากทั้งสองด้านนี้เกี่ยวกับสุขภาพอันก่อให้ประโยชน์ในด้านดีต่อสุขภาพผู้สูงวัยจึงทำให้ผู้สูงวัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น

3.องค์ความรู้เกี่ยวกับ “คิลานเภสัช : รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช”เรียกว่า PHARMARCY Model  P = Positive Thinking คิดบวก H = Human feeling ความมีอิสระ A = Accumulation การสะสมบุญ R = Relax การปล่อยวางจากความตึงเครียด M = Motivation กระตุ้นตนเองสร้างความมีชีวิตชีวา A = Aiming ตั้งเป้าหมาย C = Common life ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย Y = Younger heart มีหัวใจที่สดใสร่าเริง

References

Department of Mental Health, Ministry of Public Health, (2001). Self-Care Handbook on What to Do When Your Heart is Suffering, 2nd Edition, (Bangkok: Royal Thai Police Press, 2001).

Jaruswan Thienpraphas and Patchara Tansiri. (1993) Nursing of the Elderly. (3rd printing) Bangkok: Committee for the Development of Textbooks in Nursing Science Faculty of Nursing Mahidol University

Jintana Atsantia.(2018). Trends in Elderly Care in the 21st Century: Challenges in Nursing. The Royal Thai Army Nursing Journal Vol. 19 No. 1 January - April 2018.

Kannikar Phromsat, (1993). Buddhism and natural remedies. Bangkok: Local Community Development Institute.

Kanchana Panyathorn (2063). Health care and related factors of the elderly living alone, Ban Tat Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province. Thai Health and Nursing Journal, Vol. 2, No. 2 (May-August 2020)

Krittaya Archavanitkul, Worachai Thongchai: Librarian. (2006) Mortality. A reflection on the security of the population. Bangkok: Plan Printing Co., Ltd.

Kritsanaporn Thipkanjanaraekha et al. (2019). The role of nurses in the prevention and management of inappropriate drug use in the elderly. Journal of the Royal Thai Army Nurses. Year 20. Issue 1. January – April 2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย