คาถาอาคม : ปรากฏการณ์ ความเชื่อ ในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดคณกร มหาญาโณ -
  • กันตภณ หนูทองแก้ว
  • พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คาถาอาคม;, ปรากฎการณ์, ความเชื่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเรื่องคาถาอาคม 2) เพื่อศึกษารหัสนัยหลักธรรมในคาถาอาคม 3) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ ความเชื่อ คาถาอาคม และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับคาถาอาคมปรากฏการณ์ความเชื่อในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาแนวคิด คาถาอาคม ความเชื่อเรื่องคาถาอาคมในพระพุทธศาสนา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องคาถาอาคม จำนวน 16 รูป/คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดและทฤษฎีเรื่องคาถาอาคม พบว่า คาถาอาคมนั้นเป็นถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ตัดขาดไม่ได้ในเรื่องของความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเป็นการสร้างขวัญกําลังใจให้ผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิต 2) รหัสนัยหลักธรรมในคาถาอาคม ได้ปรากฏแฝงในคำสอนของพระพุทธเจ้าทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้คาถาอาคม ที่เรียกว่า พุทธมนต์ ก่อให้เกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์ การปฏิบัติในชีวิตประจำวันคนโบราณสอนไว้ว่าให้ท่องบ่นเป็นนิจจะก่อให้เกิดความเป็นมงคล ความสุขกาย สุขใจ มีสติ ปัญญา ประสบความเจริญ 3) ปรากฏการณ์ ความเชื่อ คาถาอาคม พบว่า ความเชื่อในคาถาอาคมสร้างความเชื่อมั่น ขวัญกำลังใจในการใช้ชีวิต นำมาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นกระบวนการปกครองและขัดเกลาทางสังคม 4) องค์ความรู้เกี่ยวกับคาถาอาคม ปรากฏการณ์ ความเชื่อ พบว่า ปรากฏการณ์เกี่ยวกับเรื่องของคาถาอาคมที่เกิดขึ้นในยุคที่กำลังพัฒนาของสังคม ผ่านกระบวนการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตและการแก้ปัญหาในสังคมอย่างมีคุณค่าในชีวิตเป็นพลวัตการกรอง การประพฤติปฏิบัติชีวิตในประจำวันในจังหวัดนครศรีธรรมราช 4 ด้านสรุปเป็นโมเดล  “B M M S Model” คือ B=Body ร่างกาย M=mind จิตใจ M=mood อารมณ์ S=Society สังคม

References

Director of the Textbook Department Mahamongkut's Institute of Technology. (1998). Method of translating Thai into Bihar, Bangkok : Mahamakut Wittayalai Printing Press.

Jureerat Buakaew. (2017). The Little Bridegroom Ritual of Khao Khuan Sung, Songkhla Province, Prince of Songkla University Journal of Science.

Chaiwut Phiyakul. (1996). Beliefs and superstitions of Wat Khao Or, Khuan Khanun District, Phatthalung Province. Songkhla: Institute of Thaksin Khadi Studies. Thaksin University.

Thawan Puttharat. (2007). The power of Phra Phutthamon Phra Nakhon: Wattanapanich, Bangkok.

Preecha Noonsuk. (2561). Cultural history of Nakhon Si Thammarat. accessible from digital archive Nakhon Si Thammarat Rajabhat University: http://dspace.nstru.ac.th.

Phra Brahmakunaphorn. (P.A. Payutto). (2008). Buddhist Dictionary glossary edition (12th edition). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Maha Wuttichai Wor. Wachiramedhi. (2010) Mantra for Advancement. Bangkok: Wimuttayalai Institute.

Phra Maha Sompong Pamuthito. (1999). Apithanwanna scriptures, Bangkok: Thipwisut.

Royal Academy. (2002). International Dictionary of Religious Terms. Royal Institute edition. reprint 2.Bangkok: Arun printing.

J. Gordon Melton, ed. (2001).Black Magic. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 https://en.wikipedia.org/.

Scheidt, R. J. (1973).Belief in supernatural phenomena and locus of control. PsychologicalReports,32 (3, Pt.2),1159–1162. https://doi.org/10.2466/pr0.1973.32.3c.1159.

Kespada Moonsuwan .2020. The phenomenon of belief and power. Silpakorn University Master of Fine Arts (M.F.A.). Painting Sculpture and Graphic Arts 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

มหาญาโณ พ., หนูทองแก้ว ก. ., & พระครูสิริธรรมาภิรัต. (2023). คาถาอาคม : ปรากฏการณ์ ความเชื่อ ในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/262756

ฉบับ

บท

บทความวิจัย