ระดับความคิดเห็นของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย ต่อการแก้ไขปัญหา และความเป็นผู้นำ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพรรณ ภูมิฐาน NIDA
  • โชคชัย สุเวชวัฒนกูล

คำสำคัญ:

การแก้ไขปัญหา; , ความเป็นผู้นำ; , หัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความเป็นผู้นำของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการแก้ไขปัญหา และความเป็นผู้นำของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นจำนวน 165 ชุด คัดเลือกตามตารางของ  Krejcie & Morgan (1970)  โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อศึกษาระดับความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยจากการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมตนเองในการแก้ไขปัญหา ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา และการเผชิญหรือหลบเลี่ยงปัญหา ระดับความคิดเห็นต่อความเป็นผู้นำ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การตระหนักรู้ในตนเอง มุมมองด้านคุณธรรมภายในตนเอง การสร้างกระบวนการที่สมดุล และการดำเนินการโปร่งใส ดังนั้น สายการบินควรเน้นด้านการควบคุมตนเองในการแก้ไขปัญหา และเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ สายการบินควรเน้นการสร้างกระบวนการที่สมดุลของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

References

Ayres, J., & Malouff, J. M. (2007). Problem-Solving Training to Help Workers Increase Positive Affect, Job Satisfaction, and Life Satisfaction. European Journal of Work and Organizational Psychology, 16(3), 279-294.

Delbari, S. A., Ng, S. I., Aziz, Y. A., & Ho, J. A. (2016). An Investigation of Key Competitiveness Indicators and Drivers of Full-Service Airlines Using Delphi and AHP Techniques. Journal of Air Transport Management, 52, 23-34.

Etemad-Sajadi, R., Way, S. A., & Bohrer, L. (2016). Airline Passenger Loyalty. Cornell Hospitality Quarterly, 57(2), 219-225.

Gittell, J. H., & Fields, A. (2004). The Southwest Airlines Way. McGraw-Hill Audio.

Han, H., Koo, B., & Hyun, S. S. (2020). Image Congruity as a Tool for Traveler Retention: A Comparative Analysis on South Korean Full-Service and Low-Cost Airlines. Journal of Travel & Tourism Marketing, 37(3), 347-360.

Heppner, P., & Baker, C. (1997). Applications of the Problem Solving I Inventory. Measurement and Evaluation in Counseling and Development, 29, 229-241.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nam, S., Ha, C., & Lee, H. C. (2018). Redesigning In-Flight Service with Service Blueprint Based on Text Analysis. Sustainability, 10(12), 4492.

Pinthapataya, J., Yuphong, S., Attavinijtrakarn, P., & Poolkrajang, A. (2018). Potential Model Development for Chief Crew Flight Attendants of Thailand’s Aviation Business for Competitiveness. Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Thongchai, T., & Pimolpun, P. (2020). Transformational Leadership of School Administrators under the Secondary Education Service Area Office 4. Journal of MCU Buddhapanya, 5(3), 41-52.

Walumbwa, F. O., Avolio, B. J., Gardner, W. L., Wernsing, T. S., & Peterson, S. J. (2008). Authentic Leadership: Development and Validation of a Theory-Based Measure. Journal of Management, 34(1), 89-126.

Zhang, Y., Guo, Y., Zhang, M., Xu, S., Liu, X., & Newman, A. (2021). Antecedents and Outcomes of Authentic Leadership Across Culture: A Meta-Analytic Review. Asia Pacific Journal of Management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย