การพัฒนาพลังศักยภาพทางใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อประโยชน์สุขในการทำงาน

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ชิตา ศีลประชาวงศ์ Ms
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ความสุข, พุทธจิตวิทยา, ศักยภาพทางใจ

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นกระบวนการฝึกฝนความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งในด้านความคิดเห็นที่มีต่องานและผลของการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น โดยศักยภาพที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ จิตวิญญาณ จิตเป็นตัวนําในการกระทําทุกอย่างและเป็นผู้คิด รับรู้อารมณ์ การที่บุคคลสามารถคิด เห็นถึงความจริงในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เห็นถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่อยู่แวดล้อมมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้บุคคลสามารถค้นหาเป้าหมายของชีวิต เกิดความสุข ความงดงาม และรู้จักการให้อภัย การระลึกถึงคุณของสิ่งรอบข้าง ทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างเสียสละและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม บทความวิชการนี้จึงจะนำเสนอแนวทางการสร้างพลังศักยภาพทางใจตามหลักพุทธธรรม ด้วยหลักพละ 5 อันได้แก่ 1. พลังแห่งความเชื่อมั่น (ศรัทธาพละ) 2. พลังแห่งความเพียรพยายาม (วิริยะพละ) 3. พลังแห่งการตระหนักรู้ (สติพละ) 4. พลังแห่งความตั้งมั่น (สมาธิพละ) และ 5. พลังแห่งความรอบรู้ (ปัญญาพละ) จะทำให้บุคคลมีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่เกียจคร้าน ไม่ประมาท ไม่ฟุ้งซ่านและไม่หลงลืม ส่งเสริมให้บุคคลมีพลังจิตเข้มแข็ง มีวิจารณญาณในการตัดสินใจถูกต้อง และมีสติสัมปชัญญะทำให้เกิดปัญญาจนสามารถเข้าถึงความสุขแท้จริง ที่เรียกว่า พระ นิพพาน การฝึกฝนจิตให้มีสมรรถนะที่ดี เป็นทักษะในการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจเพื่อฟื้นคืนพลังจิตภายใต้ภาวะความกดดัน สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาความยุ่งยากต่างๆจนทำงานให้ประสบความสำเร็จ และ สามารถควบคุม ดูแลการรับรู้อารมณ์ในทางที่ดี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมเชิงบวกในองค์กร ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข สนุกในการทำงาน  

References

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Pali language version of the Tripitaka Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Peuchthonglang, P & Peuchthonglang, Y. (2018). The True friends: Noble Friends on the Path of the Enlightenment.Journal of MCU Buddhapanya Review, 3 (2), (119-137).

Benjapolpitak, A.(2021).Open the results of the thai people's heart during COVID-19 Meet the Big. Retrieved Nov.6,2021 from https://www.bangkokbiznews.com/social/965010.

Marith Van Schrojenstein Lantman et.al.(2017).Mental resilience perceived immune functioning, and health, Journal of Multidisciplinary Healthcare:10 107-112 Retrieved May 16,2021 from https://www.dovepress.com/mental-resilience-perceived-immune-functioning-and-health-peer-reviewed-fulltext-article-JMDH#ref4.

Hulsheger UR, Alberts HJ, Feinholdt A, & Lang JW. (2013). Benefits of mindfulness at work: The role of mindfulness in emotion regulation, emotional exhaustion, and job satisfaction. J Appl Psychol.;98(2):310-25. doi: 10.1037/a0031313.

Kalyanamitra, K.(2021). Skill Essential for the Future Work Performance in the Post Covid-19 Era.Journal of MCU Buddhapanya.6 (3) (165-175)

Royal Society,Dictionary, Royal Society, B.E. 2554 (2011), Office of the Royal Society of Prime Ministers.

Panthaprakul, P.(2010) .HR STORY Gathering good strategies for professional HR,Bangkok. Business Management Co., Ltd.

Neufeldt, A. H., & Mathieson, R.(1995).Empirical dimensions of discrimination against disabled people. Health and Human Rights,1,174–189.

Phra Phuttha Kosajarn (P.A Pyutto). (2012). Living Well: With the three studies that have made all 4 developments, Retrieved Nov.6,2021 from https://www.watnyanaves.net/th/

Woraurai, S. (2012). Self-Development,Bangkok: Khum Thong Industrial Co., Ltd. and Print Limited.(17)

Napoleon Hill, (1998). Philosophy of Life: The Science of Success. Sage Asa Translation, Bangkok: The Battle Of The Arts, 1(7).(128).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ