รูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัยณรงค์ สิริพรปรีดา หฤทัย สมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ประภาส จันทร์โคตร โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาการบริหาร; นวัตกรรมทางการศึกษา; ยุคดิจิทัล; แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบการวิจัยโดยการดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐานประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมด้วยแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 7 คน ขั้นที่ 3 เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรทางการศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 380 คน

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้าในการพัฒนารูปแบบการบริหารนวัตกรรมด้วยแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีนวัตกรรมสื่อผสมมาใช้ในการบริหารงาน 2) มีกระบวนการดำเนินการด้วยแพลตฟอร์มซึ่งใช้กระบวนการบริหาร PDCA 3) มีการประเมินระบบรูปแบบการพัฒนาการบริหารนวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม ได้แก่ผู้ออกแบบระบบ ผู้จัดการระบบ ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ซื้อระบบ สำหรับผลการประเมินระบบการบริหารภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก

References

Darat Kan-iam. (2018). Boarding school management strategies based on the concept of citizenship in the 21st century.Ph.D. thesis Department of Educational Administration. Graduate School: Chulalongkorn university.

Natthanicha Pornpatumchaikit et al. (2018). Leadership in the digital age of school administrators. Affiliated with office Secondary Education Service Area, Sisaket, Yasothon. Academic Journal of Sisaket Rajabhat University,15 (2), 50-64

Phra Anan Dhammaviriyo (Namthong), Sunthorn Saikham and Prachitr Mahahing.2021. The Academicaffairs Administration in the Digital Era of the School Administrators Under Khon Kaen PrimaryEducational Service Areaoffice 1. Journal of Modern Learning Development Vol. 6 No. 1

Runcharoen, T. (2017). The direction of educational management towards education 4.0 in the digital age. Educational administration articles and development arrange learning to study in the digital age, No 1. Bangkok: The Professional Development Association of Educational Administration of Thailand.

Jirarotephinyo, N. (2019). Relationship between information technology competency and information system administration of school administrators under the office of Kanchanaburi Primary Educational Service Area. Nakhon Phanom University Journal. 9(2). P18-24.

Pathamaporn Munsingha, and Phanomporn Shuangching. (2561). Awareness of teachers and personnel with leadership. Educational Institutions and Digital Leadership in the Covid-19 Situation. National Symposium Subject: Quality of Management and Innovation No. 7. Chiang Mai: University of Technology Rajamangala Lanna

Office of the Education Council Secretariat. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Sweet pepper graphics.

Office of Vocational Education Commission. (2018). Mission. Retrieved 15 February 2018, from http://www.vec.go.th/th-th.

Office of National Economic and Social Development Council. (2016). National economic and social development plan no. 12. 2017-2021. Bangkok: Prime Minister's Office.

Sanan Meesattham. (1997). The new way of public service practice. (2nd printing). Kalasin: Coordinate printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย