การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัฐสุดา ชูติกุลัง
  • นฤนาท ยืนยง และ ธนกฤต โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรือนจำกลางคลองเปรม, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2)วิเคราะห์กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และ 3)เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดในการวิจัยใช้แนวคิดและทฤษฎีของ Nadler and Nudler; มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ปี 2550 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร จำนวน 250 คน นำไปกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ จำนวน 152 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .92 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละและอดทน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการยึดหลักความยุติธรรมและเสมอภาคต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านการรักษาชื่อเสียงเกียรติภูมิของตนเองและองค์กร ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดโปร่งใสและตรวจสอบได้ ด้านการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้านการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และด้านการยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจให้บริการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2)วิเคราะห์กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ พบว่า ปัจจัยด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 75.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ต้องดำเนินการดังนี้ 1)เน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ให้ตรงกับงาน 2)ผู้บริหารต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน 3)สร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาและการปฏิบัติงานและ 4)สนับสนุนจัดสรรงบประมาณในแสวงหาความรู้ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์

References

Department of Corrections. (2007). Moral and ethical standards of correctional officers. Bangkok: Department of Corrections.

________. (2020). Human Resource Management Strategic Plan, Department of Corrections 2021 – 2024. Bangkok: Department of Corrections.

________. (2021). Department of Corrections Human Resource Management Strategic Plan for the year 2021. Bangkok: Department of Corrections.

Boonchom Srisaard. (2000). Preliminary research. 6th edition, Bangkok : Suwiriyasan.

Busabong Chaicharoenwattana (2001). Good governance indicators. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.

Luan Saiyod and Angkhana Saiyod. (1997). Statistics in research. Bangkok: Suwiriyasan.

Chanjiraporn Panyindee. (2007). Human Resource Development : A Case Study of Public and Private Hospitals. Master of Science Thesis Faculty of Human Resource Development National Institute of Development Administration.

Nichaphat Maneerat. (2011). Factors Affecting Human Resource Development of Faculty of Law Personnel. Ramkhamhaeng University. research report Faculty of Law Ramkhamhaeng University.

Tubtim Uampetch. (2014). The need for personnel development potential of the sub-district administrative organization. in the municipality Phitsanulok Province Master of Public Administration Independent Study Department of Local Administration Graduate School : Pibulsongkram Rajabhat University.

Pongnarin Wantanalert. (2009). Guidelines for personnel development of the Department of Corrections according to ethical standards to practice morality and ethics. Master of Social Work Thesis Social Welfare Administration and Policy Faculty of Social Sciences Thammasat University

Pornpimol Srikaew. (2011). Human Resource Development of the Secretariat of the Senate. Chiang Mai : Chiang Mai University.

Pichai Sarawan. (2006). The image of Phra Nakhon Si Ayutthaya Central Prison and Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Prison in the perspective of inmates' relatives. Master's thesis Department of Social Sciences for Development Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University

Sutida Thanomwong. (2017). Human Resource Management and Development Guidelines to Improve the Quality of Work Life of Employees of Electronic Groups in Central Industrial Estates. Doctor of Philosophy Management Graduate School : North Bangkok University.

Krejcie, R.V. & Moran, D.W. (1970). Determining Sample Size For Research Activities. Educational and Measurement,30(30), pp.607-610.

Nadler, L. , & Nadler, Z. (1992). Every Manager's guide to human resource development. San-Francisco: Jossey-Bass.

Nadler, Leonard; & Nadler, Zeace. (1980). Corporate Human Resource Development. New York: Van Nostrand Rcinhoid.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย