การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC

ผู้แต่ง

  • โฉมฉาย ใจเอื้อย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQRC

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยและรูปแบบการสอนโดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2. เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครูในด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้รูปแบบการสอนกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC 3. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนด้วยกลวิธีชี้นำ
การอ่านและการคิดระดับสูง SQRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์หลังเรียนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ75
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและรูปแบบการสอนกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC
ผลการวิจัย พบว่า
1.ความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยและรูปแบบการสอนโดย
ใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC ของครูผู้สอนหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2. ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครูในด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้รูปแบบการสอนกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC ของครูผู้สอนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
3. ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนด้วยกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQRC ผ่านเกณฑ์ร้อยละ75
4. ความคิดเห็นของครูภาษาไทยที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและรูปแบบการสอนกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง SQRC ของครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Chanphen, N. (2010). The use of Thai language. Bangkok : Saeng Silp Printing.

Prueksawan, B. (2013). The development of fast reading and thinking. Bangkok : Ordinary Place.

Panich, W. (2015). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok : Sodsri-Saritwong Foundation.

Wiwattananon, S. (2007). Skills of Reading, Analytical Thinking and Writing. First Edition,Bangkok:

Prasarnsorn, S. (2001). Effects of using guiding strategies for reading and thinking at a high level on critical reading ability in Thai of athayomsuksa 4 students. Master of Education Thesis. Department of teaching Thai language Department of Secondary Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Sompong, S. (2015). "Development of a model for building a professional learning community for teachers in primary schools: participatory operational research." Doctorate of Education Thesis in Educational Administration and Development. Mahasarakham University.

Uamprom, S. (2017). Guidelines for building a community of professional learning. Bangkok : Children's Club.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย