การจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรมในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดศุภชัย บุญอิ่ม มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการวัด, การมีส่วนร่วม, แหล่งท่องเที่ยววิถีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาศักยภาพการจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรมในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพร้อมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 20 คน/รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียวสันและการวิเคราะห์การถดถอยแบบคัดเลือกเข้า โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

1. ศักยภาพของวัดในการจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรมในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยวัดเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก ให้เข้ามาเที่ยวชม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และงานพุทธศิลป์ที่งดงาม รวมถึงการทำบุญ กราบไหว้พระ ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ล้วนเป็นผลให้เกิดการท่องเที่ยววิถีธรรม โดยจุดมุ่งหมายของวัด คือ มีสถานที่สงบ สะอาด ร่มเย็น และปลอดภัย มีการปฏิบัติธรรม อบรม แนะนำคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง

2. รูปแบบการจัดการวัดเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรม คือ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการวัด และการส่งเสริมการท่องเที่ยว

3. ปัจจัยคุณลักษณะการจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรม คือ การจัดการวัดแบบมีส่วนร่วม 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านศีล ปัจจัยด้านสมาธิ และปัจจัยด้านปัญญา ส่งผลต่อการจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดรูปแบบการจัดการวัดเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีธรรม

References

Chalongsri Phimonsompong (2012). Tourism: the dimension of integrated science. MIS Journal

of Naresuan University. Year 7, Volume 1 (October 2011-March 2012): 2.

Department of Religious Affairs, Ministry of Culture. (2014). Guidelines for tourism promotion

projects Pilgrimage route in religious dimensions 2014. Bangkok: Department of

Religious Affairs.

Nattee Sridee and team (2012). Forms and processes of Buddhist tourism management in the

central region The process of managing Buddhist arts in Siam for the beauty of mind

and wisdom. Research Articles, Faculty of Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya

University

Office of the National Economic and Social Development Board Andrew & Stiefel, 1980

Phatcharat Rittem (2015). Religious and cultural tourism management model in temples.

Journal of liberal arts Ubon Ratchathani University. Year 11, Volume 1 (2015) 1-23.

PhrakhruSanti Thammaphirat. (2014). Religious places, tourist attractions in Buddhism. Journal

of Nakhonratchasima College.

PhraMaha Suthit Aphakara (2016). Teaching documents, Buddhism and social development.

Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya printing.

Phra Maha Suthit Aphakara and team (2012). Development of Buddhist Tourism Management

Models and Processes Religion in Thailand. Research report.

Tourism Authority of Thailand. (2007). Policy and guidelines for the development of

ecotourism. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย