ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลในท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อรอุมา อ่อนหวาน -
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ และธนกฤต โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหารงาน, รัฐบาล, โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มุ่งวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลในท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงาน 2) วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารงานมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานและ 3)แนวทางประสิทธิผลการบริหารงาน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวและทฤษฎีของ อคิน รพีพัฒน์; Cohen & Uphoff  ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1,163,604 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .92 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า  1) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการวางแผนการดำเนินงาน  ด้านการดำเนินงาน  และ ด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารงาน มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน พบว่า ปัจจัย 7 ตัว ประกอบด้วย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการป้องกัน งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ การเมือง กฎหมาย และเทคโนโลยีการสื่อสาร มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ได้ร้อยละ 99.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางประสิทธิผลการบริหารงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของประชาชนและประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรดำเนินการ 1)การทำงานเชิงรุก 2)การจัดตั้งศูนย์บริหาร 3)ผู้เกี่ยวข้องต้องมีจิตสาธารณะและรับผิดชอบต่อสังคม

References

Department of Communicable Disease Control. Coronavirus disease 2019 situation report. [online]. (2021) source : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php [31 August 2021]

Thaiyarat Chumchuea and Sirinthip Pengtowong. (M.P.P.). Disaster near you. [Online]. Available : http://www.thaigoodview.com/node/47597. [1 February 2021].

Nithipat Meepoksom. (2008). The use of social marketing process in the production of dengue fever campaign media in Phetchabun municipality. [Online]. Available : www.jvkk.go.th/researchnew/datails.asp?code=0103125 . [21 May 2021].

Prochom Chawiwat. (2000). Community participation to the Pracha Ruamjai Project to prevent and control Dengue fever in honor In the occasion of His Majesty the King, 72, Case Study: Mueang District, Nonthaburi Province. Master of Science Thesis: Kasetsart University.

Lowan Saiyot and Angkhana Saiyot. (2010). Educational research techniques. 11. Bangkok: Suwiyasan

Wichit Sarakit and others. (2010). Developing a form of control of dengue fever Public participation. Buriram: Provincial Health Office.

Wisan Kosittanon. (2007). Public awareness of the people in the urban community in Phetchabun province. Graduate School: Naresuan University

Pathum Thani Provincial Health Office. (2021). Corona virus situation 2019 in Pathum Thani Province. Pathum Thani: Pathum Thani Provincial Health Office.

Akin Rapeephat. (2004). Community participation in rural development in Thai society and culture.File: /// C: /urs/administrator.wmjipdpiakpdr1l)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย