การบริหารในการสอนคิดวิเคราะห์รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ด้วยเทคนิค KWL Plus ของโรงเรียนวัดไผ่แก้ว (ศิริสวัสดิ์ประชาสรรค์)

ผู้แต่ง

  • ชุติมณฑน์ โชครวย โรงเรียนวัดไผ่แก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

การบริหารรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้(PLC), การสอนคิดวิเคราะห์, เทคนิค KWL

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการบริหารในการสอนคิดวิเคราะห์รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWL Plus โรงเรียนวัดไผ่แก้ว เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้และแนวทางการสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีพื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนวัดไผ่แก้ว เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแจกแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ ครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนวัดไผ่แก้ว จำนวน 49 คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างและพัฒนาคุณภาพรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.68 2) ผลการประเมินการสอนของครู ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ มี 2 วงรอบ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ คุณภาพการสอนคิดวิเคราะห์ของครูสูงกว่าก่อนการวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 SD .00 3) ผลการวิเคราะห์ของผู้เรียนด้วยเทคนิค KWL Plus โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการวิจัยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการวิจัย มีค่าเท่ากับ 1.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.43 4) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ระดับการวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนการวิจัยและหลังการวิจัย มีผลคะแนนเฉลี่ยหลังการวิจัยเท่ากับ 3.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 สูงกว่าก่อนการวิจัยเท่ากับ 1.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.00 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนหลังการวิจัยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 สูงกว่าก่อนการวิจัย มีค่าเท่ากับ 1.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.51 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยหลัง การวิจัย เท่ากับ 3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.25 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการวิจัย เท่ากับ 1.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 5)ผลความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ(PLC) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48

References

Ministry of Education. (2007). A guide to implementing transformational leadership development to support decentralization for teachers and educational supervisors. Nakhon Pathom : Institute for Teacher Development and Educational Personnel.

Paitoon Sinlarat. (2017). Education 4.0 is more than education. 4th printing. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House

Mananya Kaew Song Mueang (2013).KWLH Plus Technique. [Online]. http://mananyakaryl.blogspot.com/ p/kwlh-plus.html (5 June 2020).

Supatchaya Patha. (2011). A Study of Science Learning Achievement and Critical Thinking Ability of Mathayomsuksa 3 Students who received Cooperative Learning Using TGT Technique and Cooperative Learning Management. Seek knowledge. Thesis . Bangkok: Srinakharinwirot Rajabhat University.

Sumalee Sangsri. (2013). Evaluation of the implementation of the policy for promoting reading love into practice in primary education. Both in school and outside the school system. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat.

Suwit Moonkham and Orathai Moonkham. (2002). 21 Learning Management Methods: To Develop Thinking Process. Bangkok: Photo Printing House.

Dewey John. (1969). Moral Principles in Education. London : Fever & Simons.

Ford, David F. (1997). Toward a Learning Organization : Guidelines for Bureaucracies. ME.D. Dissertation Abstract, Memorial University of Newfoundland (Canada).

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and im provement. Austin, Teas: Southwest Development Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย