การบริหารความสมดุลระหว่างกายกับจิตเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานโดยใช้การภาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ และโรงพยาบาลสานพราน

ผู้แต่ง

  • พระครูปฐมธรรมวงศ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความสมดุล, กายกับจิต, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาการบริหารความสมดุลระหว่างกายกับจิตเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานโดยใช้การภาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์และโรงพยาบาลสานพราน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและแนวคิดเกี่ยวกับงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน และการสนทนากลุ่ม 7 รคน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

การทำงานอย่างมีความสุขหรือการสร้างสุขในการทำงานของบุคคล อาศัยองค์ประกอบทั้งจากปัจจัยคุณลักษณะบุคคล และปัจจัยสภาวะแวดล้อมในองค์กรและสังคม คุณลักษณะส่วนบุคคลเป็นพื้นฐานอาศัยทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ให้การทำงานเกิดความราบรื่น ส่วนสภาวะแวดล้อมในองค์กรจะต้องเอื้อให้เกิดการปรับตัวและรักษาความสมดุลในการสร้างสุขให้เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้ทำงานสร้างสุขจึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยการพัฒนาทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับองค์กร อันจะนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่ตอบสนองต่อการสร้างสุขในองค์กร และพบว่า รูปแบบการบริหารความสมดุลระหว่างกายกับจิตเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยใช้การภาวนาของพนักงานโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์และโรงพยาบาลสามพราน เกิดจากกิจกรรมการบูรณาการสร้างสมดุลระหว่างแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน ที่มีองค์ประกอบ คือ 1. สุขภาพและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน 2. สุขภาพ ความปลอดภัย และความผาสุกของสิ่งแวดล้อมทางจิตสังคมในการทำงาน รวมทั้งระบบการจัดการและวัฒนธรรมในองค์กร 3. แหล่งทรัพยากรสุขภาพส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน และ 4. ช่องทางการเข้าถึงชุมชนเพื่อปรับปรุงสุขภาพของพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน และแนวคิดตามหลักสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา  และธัมมานุปัสสนา

References

Mooney. L.A. (1997). Understanding Social Problems. St.Paul. MN : West Publishing p. 164.

Orem. D.E. (2001). Nursing concepts of practice. NY: Mc Graw-Hill Book.

Panjapong, C. 1983. Quality of Life. Faculty of Social Sciences and Humanities: Mahidol University.

Ragsdale. D. & Morrow. D.R. (1990). Quality of life as a function of HIV classification.Nursing Research.

Senate Extraordinary Committee on Elderly Welfare and Social Development. 1991. Problems of the elderly and solutions. Bangkok.

Sharma. R.C.. (1975) Population Trends Resources and Environment Handbook onPopulation Education. New Delhi : Tata McGraw - Hill.

Yotyingyong, K. 2005. Strategic human resource development planning. Bangkok: Mister Copy Thailand Company Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย