การพัฒนาหลักสูตรพระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร;, พระสงฆ์ผู้นำ; , กลไกเชิงระบบ.บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีเป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ภาวะผู้นำ และการรักษาศีลห้า เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าอบรมพระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ผู้เชี่ยวชาญด้านศีล 5 และคณะกรรมการพระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 จำนวน 35 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจากผู้เชียวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และพระสงฆ์ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรพระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Context Content Analysis Technique) ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลได้วิเคราะห์ไปพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลแล้ว มาจัดทำให้เป็นระบบหาความหมาย แยกแยะองค์ประกอบ ทั้งเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปสู่ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์ และรูปแบบความเข้าใจกับความหลากหลายและความแตกต่างของข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อนำเสนอรายงานผลภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า
(1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5
ประกอบด้วยองค์ประกอบการเรียนรู้ 3 องค์ประกอบ คือ Content : การเรียนรู้ด้านเนื้อหา Pedagogy : การเรียนรู้ด้านวิธีการ/เทคนิคการทำงาน Technology : การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
(2) การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างพระแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5ประกอบด้วยการฝึกอบรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 5 Moduel คือ Moduel ที่ 1. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 Moduel ที่ 2. เทคนิคและเครื่องมือการทำงานพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในชุมชน Moduel ที่ 3. การพัฒนาสื่อดิจิตอลเพื่อการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 Moduel ที่ 4. ทักษะการแปรเปลี่ยนปัญหาสู่สัมมาชีพ และModuel ที่ 5. กลยุทธ์การขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 สู่การปฏิบัติ โดยแต่ละ จะมีแบบทดสอบเพื่อให้ผู้เข้าหลักสูตรพรสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้ทดลองปฏิบัติก่อนลงปฏิบัติการพื้นที่จริง
(3) การประเมินความสำเร็จในการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างพระแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญของศีล 5 และทักษะเชิงปฏิบัติการในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับหลักการรูปแบบการขับเคลื่อนศีล 5 แก่ประชาชนทั่วไป เป็นตัวแทนเครือข่ายการทำงานที่เป็นรูปธรรมขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของมหาเถรสมาคม ทั้ง 77 จังหวัด สามารถเป็นวิทยากรหลักในการจัดฝึกอบรมวิทยากรรุ่นใหม่หรือเยาวชน และยังขยายผลโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในการสร้างสันติสุขแก่ชุมชน และสังคม ในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย
References
Department of Religious Affairs. (2014). Guidelines for implementing the Village Project Keeping the 5 Precepts: Citizens are Happy. Under the initiative of Somdej Phra Maha Ratchamangalajarn Person performing the duties of the Supreme Patriarch (No. 2).
Janjaree Ketumaro. (2012). Development of a training curriculum for building teachers' leadership in Institutions of higher education. (Doctoral degree thesis, Ramkhamhaeng University).
Phrathapsatsanaphiban, (2022). Village Keeping the 5 Precepts: Concepts and Driving Models to Strengthen Harmony in Nakhon Pathom Province, MCU Journal Buddhapanya Review, Year 7, Issue 3 (July - September 2022): 32-42.
Carter, V.Good. (1973). Dictionary of Education (3rd ed.) New York, NY: McGraw-Hill.
Kouzes, J., & Posner. B. (1997). The leadership challenge. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.