แนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อให้บริการผู้สูงอายุภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคระบาด COVID-19

ผู้แต่ง

  • นุสรี ศิริพัฒน์ -
  • ตรีเนตร ตันตระกูล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐม การบริการผู้สูงอายุ มาตรการป้องกันและ ควบคุมการแพร่ระบาดโรคระบาดCOVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ และ 2)ประเมินแนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้บริการผู้สูงอายุ ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคระบาด COVID-19 เป็นการวิจัยผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ทำการสำรวจความคิดเห็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยปฐมของปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรจำนวน 194 คน และผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้สูงอายุ 582 คน การวิจัยเชิงคุณภาพดําเนินการโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์และการตีความ

ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการผู้สูงอายุภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคระบาด COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสร้างความครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพ ผ่านกลไกการมีส่วนร่วม การสร้างความรอบรู้ ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ควบคู่กับการจัดระบบบริการที่เข้าถึงได้สะดวกและทั่วถึง โดยมุ่งสู่ความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมีข้อค้นพบจากปัจจัยที่มีผลมาจากโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงประชากรการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และระบาดวิทยาการเกิดโรคที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ การบริหารจัดการที่เน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า ต้องให้ความสำคัญและขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุข ในการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมผู้สูงอายุต่อไป

References

Chantawibul, A. (2020). The study of the environmental health management in urban slums during covid-19 outbreak. Department of Health, Bangkok.

Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Journal of Liberal Arts Review. Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University, 13(25), 103-118.

Chum-in, C., and et.al. (2021). The Mechanism in Services During the COVID-19 Crisis: A Case Study of Ban Khlong Muan Health Promoting Hospital of Nong Prue Subdistrict, Ratsada District, Trang Province. Faculty of Commerce and Management, Prince of Songkla University Trang Campus

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2020). Handbook of care for society, mind and health personnel in the crisis of COVID-19. Nonthaburi: Department of Mental Health, Ministry of Public Health.

Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S. (2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Kaewsrasean, P. and Archarunjroj P. (2017). The relationships between work related factors, stress and performance efficiency among real estate company employees in Bangkok. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1042-1057.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Laohawichian, U. (2008). Public administration; course characteristics and dimensions (3rdedition). Bangkok: Sematham Publishing.

Limtrakoolthai, S. (2018). The influences of job characteristics to organizational affective commitment through performance: the mediator role of perceived supervisor support and perceived organization support of private school. in Doctor of Philosophy, Department of Management. Silpakorn University.

Ministry of Public Health. (2020). Guidelines based on Regulations issued under Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548 (No. 1). Bangkok: The Agricultural Co-operatives Federation of Thailand.

Swangkong, K. and Jadesadalug, V. (2016). The influence of perceived supervisor support and organization support to turnover intention of staff in tour company in Bangkok. Modern Management Journal. Sukhothai Thammathirat Open University, 14(1), 91-103.

Singharerk, W. and Jadesadaluck, V. (2017). The influence of work environment to performance through organizational office of the university press Sukhothai Thamathirat Open University. Journal of Humanities and Social Science Valaya Alongkorn, 12(2), 203-210.

Visessombat, T. and Chaiyakul, T. (2018). The Effects of Motivation, Satisfaction and Organization Commitment to Employees’ Performance in Automotive Industry of the Eastern Seaboard 1 Industrial Estate, Rayong. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, (4)3, 14-26.

Woraphatthirakul, P. (2019). Motivation in personnel’s performance affecting to administration of National Health Security Office, area branch 13 (Bangkok). Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 486-498.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย