การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ภิรมย์พร มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา,, เครือข่าย,, สุขภาวะชุมชน, , ตลาดน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชน และสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 380 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความหมายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวกภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสบายใจ (สุขภาวะทางจิต) อยู่ในลำดับที่ 1 รองลงมา ด้านสุขกาย (สุขภาวะทางกาย) และด้านอุดมปัญญา (สุขภาวะทางปัญญา) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก พบว่า ร่วมรับผลประโยชน์จากการดำเนินการ และความรู้สึกร่วม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 16.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม เป็นรูปแบบของการยกระดับความร่วมมือของภาคีเครือข่ายอย่างเป็นทางการในลักษณะเครือข่าย บ-ว-ร หรือสามประสาน โดยให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อขับเคลื่อนภารกิจร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม        

References

Chanphen Santawacha. (2005). Basic concepts. Theory and process of nursing. Nonthaburi: Thana Press Company Limited.

Community Organization Development Institute (Public Organization), Ministry of Social Development and Human Security. (2015). Handbook for certifying community status as a community organization and community organization network. Bangkok: Office of Community Organization Council Support Community Organization Development Institute (Public Organization), Ministry of Social Development and Human Security.

Damnoen Saduak Municipality (2014). Damnoen Saduak Subdistrict Municipality Development Strategy 2014-2016. Ratchaburi: Damnoen Saduak Subdistrict Municipality Office.

Phra Phromkunaporn (P.A. Payutto). (2005). Holistic well-being in the Buddhist way. Bangkok: Division of Alternative Medicine Department of Thai Traditional and Alternative Medicine Development Health Systems Research Institute Ministry of Public Health.

Prawet Wasi. (2005). Knowledge management: the process of human liberation towards potential, freedom and happiness. Bangkok: Institute for the Promotion of Knowledge Management for Society.

Samai Sutthitham. (1996). Documentary Thai Life in the Canal: Floating Market. Bangkok: Odeon Store.

Seree Phongphit. (2012). Concepts and guidelines for local development strategies. Bangkok: Power of Wisdom.

Somphan Techathik and Winai Wongarsa. (May-August 2012). “Community well-being for well-being”. Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University. Volume 29 (No. 2): Page 1.

Thanawat Pimonchinda. (November 2013-April 2014) “Lessons from the Failure of Participatory Management for Sustainable Development in Phan Thong District. Chonburi Province”. Journal of Education and Social Development Burapha University. Year 9 (No. 2): Page 24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย