การศึกษาผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึมและทรงกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • วรพล ภาคไพรี โรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกูล”
  • วันดี เกษมสุขพิพัฒน์
  • ทรงชัย อักษรคิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

:สื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์, ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์เรื่องปริซึมและทรงกระบอก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกูล” จำนวน 260 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึมและทรงกระบอกโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ แบบทดสอบวัดความเข้าใจ อนุทิน และแบบฝึกหัด วิเคราะห์ข้อมูลจากคะแนนในแบบวัดความเข้าใจโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง (one-sample t-test) เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1) สื่อที่ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองควรดึงดูดความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นระยะ 2) สื่อที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของนักเรียนควรมีการให้ผลย้อนกลับนักเรียน และ 3) งานหรือกิจกรรมในชั้นเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสสืบเสาะและสร้างข้อความคาดการณ์ด้วยตนเอง และผลจากอนุทิน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีและปานกลาง และคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ในระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Hankiatkla, N., Somchaipeng, T. and Kasemsukpipat, W. (2020). Study on Learning Management Focusing on Real-life Situations and Questioning (Can you find another word for Questioning?) for Encouraging the Mathematical Concept on Measures of Central Tendency of grade 12 Students. Sikkha Journal of Education. 8(1), p. 1 – 12.

Kaewamrat, S. (2012). Development of interactive online lessons on linear equations The only variable in Mathayomsuksa 1 students. (Master’s thesis). Bangkok. King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

Ministry of Education Office of the Basic Education Commission Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2017). Basic Education Core Curriculum (amend in 2017). Bangkok: Kurusapha Ladprao printery.

Nancha, S. (2006). Effects of learning activities to improve mathematical comprehension with the concept and persistence in learning mathematics in Mathayom 1 students. (Master’s thesis). Bangkok. Chulalongkorn University.

Pilert, C., Tunapan, M., and Chutiman, N. (2021). Development of Mathematics Learning Activities on Series for Mathayomsuksa 6 Based on Student Team Achievement Division (STAD) Cooperative with Electronic. Journal of MCU Nakhondhat. 8(3), p. 367 – 380.

Phoodee W. (2020). Mathematics instruction in digital age: Methods and tools. Journal of Science and Science Education. 3(2), p. 190 – 199.

Riegel, C. and Branker, M. M.. (2019). Reaching Deep Conceptual Understanding through Technology. Mathematics teacher. 112(4), p. 307 – 311.

Ruangsawat, P. (2019). Development of Learning Management Model based on Constructivist Theory to Promote Mathematical Understanding in Probability of Mathayomsuksa 5 Students. (Master’s thesis). Songkhla. Thaksin University.

Saengkaew, P. and Chirawichitchai, N. (2016). Developing interactive online lessons

participative Database Systems for Business Computing Buriram Rajabhat University. SSRU Academic Journal of Education. 3(2), p. 27 – 36.

Saennok, S. (2016). The results of using multimedia lessons entitled Prism volume in Mathematics for Mathayomsuksa 3 student. The 3rd National Academic and Research Conference, Stepping into the 2nd Decade, p. 829 – 835.

Siamrath online. (2020). Chulalongkorn professors recommend using media that is suitable for students. promote learning in the era new normal. https://siamrath.co.th/

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology [IPST]. (2017). Manual for using the curriculum for mathematics learning subjects, revised edition 2017. Bangkok: The agricultural Co-operative Federation of Thailand printery.

Wayo, W., Charoennukul, A., Kankaynat, C. and Konyai, J. (2020). Online Learning Under the COVID-19 Epidemic: Concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 14(34), p. 285 – 298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

ภาคไพรี ว. ., เกษมสุขพิพัฒน์ ว., & อักษรคิด ท. (2023). การศึกษาผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึมและทรงกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 42–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/261125

ฉบับ

บท

บทความวิจัย