การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ยิ่งยอม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • นภาภรณ์ ธัญญา

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, ทักษะการคิดวิเคราะห์, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development)  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  พื้นที่การวิจัยได้แก่โรงเรียนชุมชนวัดศีลขันธาราม วิทยาคม อำเภอ โพธิทอง จังหวัดอ่างทอง กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 10 แผ่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) 

ผลการวิจัยพบว่า 

1) รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหา  2) ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา 3) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา 4) ขั้นตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ

 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์มีค่าเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

  1. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก

References

Prasit Soradet. (2010). Development of a teaching model for practicing mathematical thinking skills for elementary school students. Doctor of Education (Curriculum and teaching disciplines). Graduate School: Burapha University.

Suchitra Sothapirak. (1995). An analysis of the question use of math teachers. Junior high school level Bangkok. Master of Education. Chulalongkorn University.

Sunee Hemaprasit. (1990). Developing an instructional set for solving the defects in solving math problems of grade 4. Doctor of Education thesis. Srinakharinwirot University Prasarnmit. Bangkok.

Ministry of Education. (2010). Guidelines for measuring and evaluating learning outcomes according to the 2008 Basic Education Core Curriculum. Bangkok: Agricultural Cooperative Society of Thailand Printing House.

Tasna Khamanee (2007). Pedagogical Sciences: Knowledge for organizing effective learning processes. 5th printing. Bangkok: Chulalongkorn University.

Thatna Khamanee, (2009). Pedagogical sciences, body of knowledge for the management of the learning process powerful. 10th printing. Bangkok: Chulalongkorn University

Bloom ,1959 Taxonomy of educational objective : The Classification of Educational goal. NewYork : David McKay.

Joyce and Well (1992 )Models of Teaching. 4th ed . Allyn and Bacon. A Division of Simon & Schuster Inc.

Keeves J., (1997) Models and model building in Keeves Educational Research, Methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed. Oxford : Peraman Press.

Marzano, ( 2001 ) Designing a New Taxonomy of Educational. Objective. Thousand Oaks, California: Corwin Press.Inc.

Zeichner and Liston ,1987 Teaching student teachers to reflect. Harvard Educational Review, 57(1), 23-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

How to Cite

ยิ่งยอม ส., & ธัญญา น. . . (2022). การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 296–305. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/259485

ฉบับ

บท

บทความวิจัย