การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา

ผู้แต่ง

  • พรรณทิพภา คุณสมบัติ Khonkaen University
  • เอื้อจิตร พัฒนจักร

คำสำคัญ:

วิธีการแบบเปิด, การศึกษาชั้นเรียน, การมีส่วนร่วมของนักเรียน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิดและใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านส้มกบ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โพรโทคอลจากการถอดเทปบันทึกวีดิทัศน์การจัดการเรียนการสอน  2) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของนักเรียน 3) แบบสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียน และ 4) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ระเบียบวิธีวิเคราะห์โพรโทคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนของ Fredricks et al. (2004) ผลการวิจัย พบว่า

         1)  การมีส่วนร่วมเชิงการรู้คิด: วิธีการแบบเปิดทำให้นักเรียนเข้าร่วมในสถานการณ์ปัญหาอย่างกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการวางแผนการแก้ปัญหาโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิม มีความยืดหยุ่นในการคิด สามารถอธิบายและให้เหตุผลประกอบแนวคิด มีการตรวจสอบและอภิปรายแนวคิดร่วมกัน รวมทั้งเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การใช้ในชีวิตจริง

        2) การมีส่วนร่วมเชิงอารมณ์: วิธีการแบบเปิดที่มีปัญหาปลายเปิดที่นักเรียนไม่คุ้นเคย ช่วยกระตุ้นความสนใจ ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน ท้าทายและภูมิใจที่ได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง ชั้นเรียนที่ให้ความสำคัญกับวิธีการมากกว่าคำตอบ ทำให้นักเรียนลดความกังวลและมีความมั่นใจในการแสดงแนวคิด

        3) การมีส่วนร่วมเชิงพฤติกรรม: วิธีการแบบเปิดทำให้เกิดการสื่อสาร อภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดทางคณิตศาสตร์ และการช่วยเหลือกันในด้านความรู้ ให้การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

 

References

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน: นวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปครู. วารสารศึกษาศาสตร์, 32(2), 12-21.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 1-17.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2562). (บรรยาย) การสอนทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา: การออกแบบลำดับการสอน (Flow of Lesson). EDUCA 2018: The 13th Annual Congress for Teacher Professional Development.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2555). การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนในบริบทการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Catherine, A. (2012). Engagement with Mathematics: What Does It Mean and What DoesIt Look Like?. Australian Primary Mathematics Classroom, 17(1), 9-13.

Fredricks, J. A., Blumenfeld, P. C., & Paris, A. H. (2004). School Engagement: Potential ofthe Concept, State of the Evidence. Review of Educational Research, 74(1), 59-109.

Leis, M., Schmidt, K. M., & Rimm-Kaufman, S. E. (2015). Using the partial credit model to evaluate the student engagement in mathematics scale. Journal of applied measurement, 16(3), 251-267.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. Proceeding of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME 24). (pp. 39-54). Hiroshima, Japan. Hiroshima University.

Takahashi, A. & Yoshida, M. (2004). Ideas for Establishing Lesson-Study Communities, Teaching Children Mathematics. 10(9), 436-443.

Trowler, V. (2010). Student engagement literature review. New York: The Higher EducationAcademy.

Wade, R. (1994). Teacher education students’ views on class discussion: implications for fostering critical thinking. Teaching and Teacher Education. 10(2): 231-243.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย