การพัฒนางานบวชสร้างสุข ปลอดภัย ห่างไกลโควิด 19 จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พูนศักดิ์ พาทีทิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ประทีป พืชทองหลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • กอบลาภ อารีศรีสม ภาวิณี อารีศรีสม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ชุมชนสุขภาวะ, การสื่อสาร, เครือข่าย, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ สถานการณ์ และบทเรียนการจัดงานบวช 2) ศึกษาการประสานเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสาธารณงานบวชสร้างสุข ปลอดภัย ห่างไกลโควิด -19 และ 3) วิเคราะห์การสื่อสารสุขภาวะของเครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนาชุมชนสุขภาวะ,แนวคิดการสื่อสาร, และแนวคิดการสร้างเครือข่าย เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย พื้นที่ตำบลตะปอน อำเภอขลุง, พื้นที่ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง, พื้นที่ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ , พื้นที่ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว, พื้นที่ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม,และพื้นที่ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าอาวาส, พระอุปัชฌาย์, เจ้าภาพงานบวช และประชาชนทั่วไป รวม 20 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ในการปฏิบัติตามคำสั่งนโยบาย ในการควบคุมการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ในการจัดงานบวชช่วงเวลาดังกล่าว การพบปะสังสรรค์มีน้อยลง ทำให้ควบคุมการติดเชื้อได้ดีขึ้น อุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท อาชญากรรมที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ลดลง ค่าใช้จ่ายในการจัดงานลดลง 2) การจัดโครงสร้างและแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงาน การจัดประชุมวางแผนและติดตามการดำเนินงาน , การออกแบบการจัดเวทีพัฒนานโยบายสาธารณะงานบวชสร้างสุขฯ, การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล, การจัดเวทีสรุปบทเรียน การจัดทำชุดความรู้, การจัดเวทีคืนข้อมูล และแถลงข่าวมอบข้อเสนอเชิงนโยบาย 3) เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดจันทบุรีมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน บทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นคณะทำงานทั้งในพื้นที่ต้นแบบฯ ทั้งในเครือข่ายประชาคมงดเหล้า และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทำให้การดำเนินโครงการประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

Author Biography

พูนศักดิ์ พาทีทิน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้

พุทธศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา), ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว), พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธศาสนา)

References

Ayana, T. et al. (2006). Community Health System by Community for Community. Nonthaburi: Community Health Research and Development Institute (NRC).

Chanchonlayut, A. et al. (2016). Opening Behavior of Technology University Students' Health Care-Related NewsEast Rajamangala, Chakpong Phu Nang Campus. Rmutto Social Science Journal, 6(1), 107-117.

Churchman, A. R. Z. A., & Sadan, E. L. I. S. H. E. V. A. (2004). Public participation in environmental design and planning. Encyclopedia of applied psychology, 793-800.

Kaewson, S. (2012). Factors influencing the viewing of health-related programs on broadcasting stations, the Army Channel 5 of the people in the metropolitan area.. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Bangkok.

Kaewthep, K. (2003). Model of the targeted group's news-seeking behavior: Media for Communities Knowledge Processing. Bangkok: Office of Research Support Fund (SCF.).

Kaewthep, K. et al. (1948). Under the sky of personal media education and communication networks According to research. Bangkok: Office of Research Support Fund (SCF.).

Liuyapong, K. (2002). The identity and communication ability of the leaders of the Senior Citizens' Club.Pho Saiam, Phi Chit Province, in the activities of self-development and community. Bangkok: Faculty Office.National Cultural Commission, Ministry of Culture.

Nakasane, S. (2018). The behavior of the elderly's self-health care in Bangkok. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 12(1), 39-48.

Nora, Pierre. (1989). Between Memory and History: Les Lieux de Memoire. Representations. JSTOR, 26 Special Issue: Memory and Counter-Memory (spring): 7-24.

Phusakaew, S. et al. (2017). Factors Relating to the Role of Leadership of Change The aspect of building up the health of the bureaucratic administrator.al at the district level. Journal of Public Health Nursing, 31, 177–194. Retrieved Jan 11, 2022, from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100985

Prasamaya, S. (2003). Analysis of the Health Contents of the Daily News. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Pretty, J. N. (1995). Participatory Learning for Sustainable Agriculture. World Development, 23 (8), 1247–1263.

Resources Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chanthaburi Province. (2021). Report on priesthood information. Chanthaburi: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chanthaburi Province.

Rodson, T. (1984). Communication for fertility Only study cases of women with difficult children. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Seanphuwa, A. et al. (2014). The spirit takes into account the common common interests of the heads of the municipal communities of Muang Khun District.Razasai, Srisaket Province. Journal of Social Development, 15(1). Retrieved Jan 5, 2022, form https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25723

Srivanichakorn, S., Pratumnan, S. (2001). New perspective, new management in the community health system. Bangkok: Smyrrit Printing and Publishing. Statistical Information and Information Department Planning Division, Chanthaburi Provincial

Office of Buddhism. (2021). Report on the Information Conference of Temples in Chanthaburi Province. Chanthaburi: Chanthaburi Provincial Office of Buddhism.

Teanjawong, W. (1984). Comparison of media exposure behavior between the maternal group of pre-menstrual children and the group with malnutrition in the Red Soil Welfare Building. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Thai Asian Friendship Society. (2015). Network Management. Retrieved from www.gotoknow.org/posts/162766.

Wiboonchan, S. (1999). The relationship between open-mindedness and self-health care of a young woman. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย